ทำงานเอกชน เกษียณอายุแล้ว เบิกอะไรได้บ้าง?

ทำงานเอกชน เกษียณอายุแล้ว เบิกอะไรได้บ้าง?


สำหรับพนักงานเอกชนที่ไม่ได้จ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือประกันต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีเงินสำหรับยังชีพหลักๆจาก 3 แหล่ง ได้แก่

1.        เงินชดเชยตามอายุงาน

การเกษียณอายุของลูกจ้าง ถือว่าเป็นการ เลิกจ้าง อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าเกษียณเราควรจะได้เงินชดเชยจากนายจ้างตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 118 วรรค 2)  สำหรับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ได้มีบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการเกษียณอายุ และการจ่ายค่าชดเชยเรื่องการเกษียณอายุการทำงานเอาไว้ ดังนี้

  • กรณีกำหนดการเกษียณอายุก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์” ให้ถือว่าการเกษียณอายุไปเป็นตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
  • กรณีกำหนดการเกษียณอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ หรือไม่ได้มีการกำหนด” ลูกจ้างมีสิทธิขอเกษียณอายุได้เมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ 30 วันหลังการแสดงเจตนา  ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย

 

2.          เงินบำนาญประกันสังคม

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่จ่ายประกันสังคม คุณสามารถยื่นขอรับเงินบำนาญจากกองทุนประกันสังคมได้ตลอดชีวิต โดยมีเงื่อนไขคือ

  1. ต้องมีอายุ 55 ปีขึ้นไป
  2. ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนไม่น้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี)

ซึ่งเงินบำนาญที่ได้ต่อเดือนจะเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย รวมกับ 1.5% ที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนปีที่เพิ่มขึ้นจาก 15 ปี

สูตรคำนวณ :

เงินบำนาญต่อเดือน = ค่าจ้างเฉลี่ย* x [ 20 + (1.5 x (จำนวนปีที่สมทบ – 15))] / 100

*ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ฐานคำนวณไม่เกิน 15,000 บาท

 

3.      เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เมื่ออายุ 60 ปี คุณสามารถไปลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพได้ที่ สำนักงานเขต กทม., อบต. หรือเทศบาล โดยการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุในปัจจุบัน จะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นรายเดือนต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ซึ่งอัตราที่ได้จะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามช่วงอายุ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!
 

ขอบคุณที่มา :: https://finstreet.co/private-retirement/

 40977
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์