• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนเงินทดแทน กับ กองทุนประกันสังคม ต่างกันอย่างไร

กองทุนเงินทดแทน กับ กองทุนประกันสังคม ต่างกันอย่างไร

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • กองทุนเงินทดแทน กับ กองทุนประกันสังคม ต่างกันอย่างไร

กองทุนเงินทดแทน กับ กองทุนประกันสังคม ต่างกันอย่างไร



กองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเป็นรายปีให้กับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งนายจ้างแต่ละบริษัทจะจ่ายเงินสมทบไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งกองทุนเงินทดแทนจะใช้ในกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จากการทำงานให้นายจ้างเท่านั้น! 

ตัวอย่างเช่น พนักงานเกิดอุบัติเหตุตกจากที่สูงขณะกำลังจัดเรียงสินค้าให้กับนายจ้างจนขาหัก ในกรณีนี้ทางกองทุนเงินทดแทนจะเป็นฝ่ายจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยให้กับพนักงาน  

เข้าใจง่ายๆ คือ กองทุนเงินทดแทนเป็นส่วนที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบและให้ความคุ้มครองเฉพาะจากการทำงานเท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่านายจ้างทุกกิจการจะต้องจ่ายเงินสมทบให้กองทุนเงินทดแทนเพราะกิจการที่ได้รับการยกเว้น ดังนี้ 

• ราชการส่วนกลาง, ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นเฉพาะข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ

• รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

• รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ สำหรับลูกจ้างซึ่งมิใช่เป็นการจ้างงานในประเทศ

• ลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

กองทุนประกันสังคม 

ส่วนใหญ่ทุกคนจะรู้จักและคุ้นเคยกับกองทุนประกันสังคมมากกว่า เพราะเป็นกองทุนที่ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลเป็นคนจ่ายเงินสมทบ โดยกองทุนประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนใน  7 กรณี อันไม่เนื่องจากการทำงาน

• เจ็บป่วย

• คลอดบุตร

• ทุพพลภาพ

• เสียชีวิต

• สงเคราะห์บุตร

• ชราภาพ

• ว่างงาน

ตัวอย่างเช่น พนักงานบริษัทเกิดอุบัติเหตุจักรยานล้มจนขาหัก ก็สามารถใช้บัตรประชาชนยื่นขอใช้สิทธิประสังคมในการเข้ารักษากับโรงพยาบาลที่เลือกไว้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใต้เงื่อนไขของประกันสังคม 

สรุปแล้วความแตกต่างระหว่างกองทุนเงินทดแทน กับ กองทุนประกันสังคม มีอยู่ 2 ส่วนหลัก คือ ผู้ที่จ่ายเงินสมทบ กับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองนั่นเอง


ที่มา : www.thairath.co.th

 3602
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาจ้างงาน คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ระบุเงื่อนไขการจ้างงาน โดยทั่วไปจะกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ค่าตอบแทน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่าย และช่วยลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์