เป็นผู้นำอย่างไร ให้ได้ใจลูกน้อง

เป็นผู้นำอย่างไร ให้ได้ใจลูกน้อง


เราอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก ความท้าทายใหม่ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กรเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในภาพรวม ทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ด้านสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของผู้นำองค์กร ในทางกลับกัน ความท้าทายภายในองค์กร อาทิ ความคิด ทัศนคติของคนภายในองค์กร ระบบและกระบวนการ รวมถึงวัฒนธรรมขององค์กร เป็นสิ่งที่ผู้นำสามารถบริหารจัดการได้



ผู้นำที่จำเป็นสำหรับปัจจุบันและอนาคต คือผู้ที่ สามารถสร้าง Engagement ภายในองค์กรที่ตอบสนองต่อความต้องการของพนักงาน โดยบทบาทที่จำเป็นของผู้นำประกอบด้วย 4 ประการ ได้แก่
1. สร้างบรรยากาศการทางานให้มีความไว้วางใจสูง
2. สร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วม
3. สร้างทีมที่เข้มแข็งโดยมีกลยุทธ์ที่ช่วยให้พนักงานทำงานได้อย่างง่าย
4. ให้คุณค่ากับพนักงานภายในองค์กรโดยการปลดปล่อยศักยภาพอย่างเต็มที่

ผู้ที่เป็นผู้นำระดับต้น (Frontline leader) เป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่องค์กร ดังนั้น องค์กรจะต้องพัฒนาบุคคลเหล่านี้ใน 6 ด้าน ได้แก่
1. การเปลี่ยนแนวความคิดว่าความสำเร็จเป็นความสำเร็จของทีม
2. มีการสื่อสารแบบตัวต่อตัวเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของทีม
3. นำทีมงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ
4. สร้างวัฒนธรรมการรับและให้ feedback ระหว่างกัน
5. นำทีมให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
6. มีการบริหารจัดการเวลาที่ดี

ผู้นำจำเป็นต้องมีทักษะต่างๆ มากมาย หากต้องจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาทักษะแล้ว ทักษะที่สำคัญที่ถือได้เป็น Multiplier Skill ที่จะช่วยให้ผู้นำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จคือ Trust หรือการสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ซึ่งสามารถสร้างได้โดยเริ่มต้นจากตัวเอง ผู้นำทุกคนสามารถสร้างทักษะดังกล่าวได้โดยมีความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น มีเจตนารมณ์ที่จะนึกถึงส่วนรวมมากกว่าตนเอง มีความสามารถในการเรียนรู้และพร้อมที่จะเรียนรู้ไปกับผู้อื่น และมอบความไว้วางใจให้กับผู้อื่นต่อไป พฤติกรรมที่ของผู้นำที่ได้รับความไว้วางใจสูงมี 13 ประการ ได้แก่
1. พูดความจริงและพูดตรงๆ
2. ให้ความเคารพต่อผู้อื่น
3. เปิดเผย โปร่งใส
4. ยอมรับว่าตนเองผิดพลาดได้
5. มีความซื่อสัตย์
6. สร้างผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นได้
7. พัฒนาความสามารถให้ดียิ่งขึ้น
8. กล้าเผชิญหน้ากับความจริง
9. บอกความคาดหวังอย่างชัดเจน
10. มีความรับผิดชอบ
11. ฟังก่อนพูด
12. ทำตามที่รับปาก
13. ให้ความเชื่อใจแก่ผู้อื่น

จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมของผู้นำที่ได้รับการไว้วางใจสูงนั้น อาจมีบริบทของวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ คนไทยมีจุดแข็งในการให้ความเคารพต่อผู้อื่น แต่อาจไม่กล้าพูดตรงๆ ต่อหน้าผู้อื่น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว อาจต้องได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของวัฒนธรรมต่อไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่

ที่มา : องค์ความรู้จากงาน Thailand HR Day 2019 by PMAT
 2565
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์