081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosofthrmi.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Business Flow
Organization
Personnel
Time Attendance
Payroll
Approve Center
Recruitment
Training
Welfare
Loan Management
Job Control
Management Information
Dashboard
Reports
Employee Self Service (ESS)
Multi Company
Human Capital Management (HCM)
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
Manual
System Requirements
New Feature HRMI
E-Newsletter
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
HR Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Award & Standard
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
News
HR Articles
People Management
กลยุทธ์การจัดโครงสร้างองค์กรยุคใหม่
กลยุทธ์การจัดโครงสร้างองค์กรยุคใหม่
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
HR Articles
People Management
กลยุทธ์การจัดโครงสร้างองค์กรยุคใหม่
กลยุทธ์การจัดโครงสร้างองค์กรยุคใหม่
ย้อนกลับ
ในยุคของการแข่งขันแม้แต่ชีวิตประจำวันของคนต้องการความสะดวกสบายมากขึ้นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆมีการออกแบบให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป บางอย่างถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย(Multi-Functions)มากยิ่งขึ้น เช่น ปากกาด้ามเดียวแต่มีหลายสี เครื่องถ่ายเอกสารสามารถถ่ายเอกสารได้ ส่งแฟ็กส์ได้และใช้เป็นเครื่องพริ้นเตอร์ได้ โทรศัพท์มือถือสามารถพูดได้ ส่งข้อความได้ สามารถเล่นอินเตอร์เน็ตได้และถ่ายภาพได้ ยาสระผมและครีมนวดผมอยู่ในขวดเดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงนอกจากจะมีการเพิ่ม เติมฟังก์ชันการทำงานให้มากขึ้นแล้ว สิ่งของต่างๆยังถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่น (Flexible) มากขึ้นกว่าเดิมด้วย เช่น เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ก็ถูกออกแบบให้เป็นแบบ “น๊อคดาวน์” ที่สามารถประกอบได้ง่ายเคลื่อนย้ายได้สะดวก รถยนต์ถูกออกแบบให้เป็นรถ “อเนกประสงค์” สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่การใช้สอยภายในให้สอดคล้องกับการใช้งานในแต่ละ ประเภท ของเล่นของเด็กๆถูกออกแบบไปสู่ของเล่นที่เป็นชิ้นเดียวแบบเดียวไปเป็นของ เล่นที่สามารถถอดชิ้นส่วนและประกอบเป็นรูปอื่นๆได้ ซึ่งจะทำให้เด็กๆสามารถต่อของเล่นได้ตามที่ต้องการมากขึ้น
เราจะเห็นว่าในโลกปัจจุบันและอนาคต ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้มากกว่าหนึ่งอย่างและใน ขณะเดียวกันการใช้งานจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
การจัดโครงสร้างองค์กรก็เช่นเดียว กัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยหลักของการจัดองค์กรที่เรียกว่า Multi-Flex Structure ซึ่งหมายถึงกลยุทธ์การจัดโครงสร้างองค์กรแบบพหุฟังก์ชันและมีความยืดหยุ่น เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับคำว่าโครงสร้างที่ผมจะพูดถึงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผังการบริหารงานที่ เป็นนามธรรมแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะรวมถึงโครงสร้างของระบบบริหารงานในด้านต่างๆ ด้วย เช่น โครงสร้างการบริหารระบบผลตอบแทน
เพื่อให้การจัดโครงสร้างองค์กรยุค ใหม่สามารถแข่งขันได้ ผมจึงขอเสนอตัวอย่างแนวคิดในการจัดโครงสร้างองค์กรแบบ Multi-Flex Structure ในด้านต่างๆ ดังนี้
Matrix Structure
หมายถึง การออกแบบโครงสร้างการบริหารงานแบบไขว้กันระหว่างหน่วยงานต่างๆ (ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฯลฯ) กับโครงการหรือคณะกรรมการชุดต่างๆ ในองค์กร ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ได้มีโอกาสทำงานได้มากกว่าหนึ่งหน้าที่
Skills Matrix
หมายถึงการออกแบบระบบการพัฒนาทักษะ ของบุคลากรให้มีมากกว่าหนึ่งทักษะ เป็นการออกแบบตารางไขว้ระหว่างตำแหน่งงานกับทักษะที่จำเป็นในหน่วยงานหรือ องค์กร โครงสร้างแบบนี้จะช่วยให้บุคลากรแต่ละคนมีการพัฒนาทักษะที่หลากหลายมากขึ้น เราจะเห็นได้ชัดในอุตสาหกรรมที่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน วันนี้นาย ก.ทำงานหน้าที่หนึ่ง แต่พรุ่งนี้ออร์เดอร์เปลี่ยนงานในจุดที่นาย ก.เคยทำไม่มี หรือพนักงานในหน่วยงานอื่นขาดงาน เราสามารถโยกย้ายนาย ก.ไปช่วยทำงานในจุดอื่นๆที่ต้องการได้ ถ้านาย ก.เป็นบุคลากรที่มีทักษะมากกว่าหนึ่ง
Network/Process Structure
หมายถึงการจัดโครงสร้างการบริหาร งานโดยมุ่งเน้นกระบวนการหรือเครือข่ายมากกว่าตามหน้าที่งาน เพราะแต่เดิมเรามักจะให้ความสำคัญกับฟังก์ชันงานที่เป็นฝ่ายเป็นส่วนหรือ เป็นแผนกต่างๆ มากเกินไป ทุกคนก็จะคำนึงถึงฝ่าย ส่วนหรือแผนกของตัวเอง โดยมองข้ามผลลัพธ์สุดท้ายขององค์กรไป แต่ถ้าเราจัดโครงสร้างแบบใหม่โดยหันไปเน้นที่กระบวนการหรือเครือข่ายแทน (เครือข่ายหมายถึงการที่บุคลากรจากทุกหน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ใดกระบวนการหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็ยังสังกัดอยู่กับฝ่ายงานเดิม) จะทำให้คนจากทุกหน่วยงานหันมาให้ความสำคัญกับกระบวนการหรือเครือข่ายที่ตัว เองเกี่ยวข้องมากกว่าผลงานของหน่วยงาน แต่การจัดโครงสร้างองค์กรแบบนี้ จะต้องออกแบบระบบการประเมินผลงานให้สอดคล้องกันไปด้วย เช่น แทนที่จะวัดว่าแต่ละคนทำงานประจำในหน่วยงานของตัวเองเพียงอย่างเดียว อาจจะต้องกำหนดตัวชี้วัดผลงานซึ่งเป็นผลงานร่วมของกระบวนการหรือเครือข่าย ที่ตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น แต่เดิมฝ่าย HR มักจะแบ่งงานออกเป็น งานสรรหาว่าจ้าง งานแรงงานสัมพันธ์ งานบริหารผลตอบแทน งานด้านฝึกอบรม แล้วก็จัดแบ่งคนให้แต่ละคนทำหน้าที่เฉพาะด้าน ใครทำงานด้านสรรหาก็จะเก่งสรรหาอยู่เพียงอย่างเดียว และทำงานสรรหาให้กับทุกหน่วยงาน แต่ถ้าเป็นการจัดโครงสร้างองค์กรแบบใหม่ พนักงาน HR หนึ่งคนจะต้องทำงานเป็นทุกด้าน (Multi-Skills) และเข้าไปดูแลรับผิดชอบงาน HR ทั้งหมดของหน่วยงานที่ทำกำไร (Profit Center) หรือหน่วยงานย่อย (Business Unit) หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และรายงานตรงต่อผู้บริหารของหน่วยงานนั้นๆ ในขณะเดียวกันก็รายงานโดยอ้อมต่อผู้จัดการฝ่าย HR เรา จะเห็นว่าเมื่อจัดโครงสร้างการบริหารแบบนี้แล้ว จะทำให้คนทำงานมุ่งเน้นผลงานของกระบวนการหรือเครือข่ายนั้นๆ มากกว่าการเน้นผลงานของฟังก์ชันงานเหมือนในอดีต
Flexi-Benefits
หมายถึง การจัดระบบการบริหารผลตอบแทนที่มีความยืดหยุ่นตามความต้องการของพนักงานแต่ ละคน คนไหนแต่งงานแล้ว ก็ไม่ต้องเลือกสวัสดิการเงินช่วยเหลือกรณีสมรส คนไหนโสดก็ไม่ต้องเลือกสวัสดิการรักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร หลักการนี้คือการนำเอาหลักการของร้านอาหารฟาสฟูดส์มาใช้ เหมือนกับการที่แต่ละคนมีเงินอยู่คนละ 100 บาท เมื่อแลกคูปองไปแล้ว ใครไม่อยากกินข้าวก็ไปเลือกซื้อก๋วยเตี๋ยวแทน ใครไม่อยากดื่มน้ำอัดลมก็ไปซื้อน้ำผลไม้ปั่นแทน การจัดสวัสดิการแบบนี้จะช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้ของพนักงานได้ดี ยิ่งขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้ เราไม่ต้องมาพะวงว่าปีหน้าจะยกเลิกสวัสดิการตัวนี้ และเพิ่มสวัสดิการตัวใหม่อย่างไร เพราะเราสามารถเพิ่มเมนูอาหารได้ตามสะดวก รายการไหนพนักงานไม่ได้เลือกเป็นเวลานานก็สามารถเอาออกจากรายการได้ โดยไม่ต้องมีปัญหากับพนักงาน
Flexi-Time
หมายถึง การกำหนดเวลาเข้าและเลิกงานให้มีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของแต่ละคนแต่ละ งาน เช่น แทนที่จะกำหนดเวลาเข้าออกตายตัว ก็กำหนดช่วงของเวลาเข้าออกงานใหม่ เช่น สามารถเข้าทำงานได้ระหว่างเวลา 07.00 -09.00 น. และเมื่อทำงานครบตามชั่วโมงที่บริษัทกำหนดแล้วก็สามารถเลิกงานได้ระหว่าง เวลา 04.00 – 06.00 น. แต่เพื่อไม่เกิดความวุ่นวายในการบริหารจัดการก็อาจจะต้องมีการกำหนดกติกา เพิ่มเติมบ้าง เช่น ต้องเลือกเวลาเข้าออกงานล่วงหน้าและต้องใช้แบบที่เลือกอย่างน้อยหนึ่งเดือน ติดต่อกันหรือทุกหน่วยงานในช่วงเวลา 08.00 – 05.00 น. จะต้องมีคนทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดความไม่สะดวกต่อการติดต่อของลูกค้า เป็นต้น
Flexi – Learning
หมายถึง การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพราะบางคนไม่ชอบนั่งห้องสัมมนา แต่ถนัดที่จะอ่านหนังสือเอง ถนัดที่จะเรียนจากซีดีรอม บางคนไม่ชอบเรียนหรือสัมมนาในตอนบ่าย แต่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในช่วงเช้า บางคนงานเยอะในช่วงที่บริษัทจัดสัมมนา ไม่มีอารมณ์เรียนเพราะห่วงงาน บางคนไม่อยากเรียนในบางหัวข้อ แต่อยากพัฒนาความรู้ในอีกหัวหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานเหมือนกัน ปัญหาเหล่านี้ก็ยังเป็นปัญหาคาใจในการพัฒนาคนในหลายๆองค์กร จึงขอแนะนำว่าองค์กรไม่จำเป็นต้องกำหนดวิธีการเรียนแบบบังคับ อาจจะกำหนดผลที่ต้องการจากการเรียนรู้น่าจะดีกว่า เช่น บริษัทหนึ่งมีการกำหนดให้พนักงานทุกคนทดสอบภาษาอังกฤษทุกปี ใครสอบผ่านมีเงินช่วยเหลือให้ทุกเดือน ใครสอบตก..อดงดเงินช่วยเหลือ ดังนั้น ใครจะไปเรียนภาษาอังกฤษแบบไหนก็เป็นเรื่องของแต่ละคน บริษัท ไม่ต้องมานั่งปวดหัวว่าจัดภาษาอังกฤษแล้ว นักเรียนโดดเรียนกันเยอะ จัดแล้วไม่เห็นได้ผลเลย ทุกคนก็สอบผ่านหมดทั้งๆที่บางคนก็ลอกข้อสอบเพื่อนมา
สมัยนี้เทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น สื่อการเรียนการสอนมีมากขึ้น ดังนั้น องค์กรจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเรื่องการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการ ของผู้เรียน ในขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรด้วย
สรุป การจัดโครงสร้างทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการบริหารงานและบริหารคน ขององค์กรยุคใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงหลักสำคัญนอกเหนือจากหลักการพื้นฐานเรื่อง ของการจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation) และการ หลักของการตรวจสอบและการควบคุม (Check & Balance) นั่นก็คือหลักของพหุฟังก์ชัน (Multi-Functions) และ หลักของความยืดหยุ่น (Flexible) ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจะทำให้องค์กรสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันที่ยั่งยืนและพร้อมที่จะ เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบได้นะครับ...สวัสดีครับ
ที่มา :
Link
2541
ผู้เข้าชม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com