เทคนิคในการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานของพนักงาน?

เทคนิคในการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานของพนักงาน?

เทคนิคในการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานของพนักงาน?

ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพหรือผลการทำงานเป็นหลัก (Result-Oriented) จึงมีผลทำให้ระบบการประเมินผลการทำงานเปลี่ยนรูปแบบจากระบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเดิมที่เรียกว่า "Performance Appraisal System" ซึ่งมีการกำหนดปัจจัยการประเมินผลอย่างกว้าง ๆ เช่น ปริมาณ คุณภาพ เวลา ความรับผิดชอบในงาน เป็นต้น โดยปัจจัยดังกล่าวมิได้เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร มาเป็นการประเมินผลที่มุ่งเน้นการบริหารประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เรียกว่า "Performance Management System : PMS"

1. ระบบบริหารประสิทธิภาพการดำเนินงานคืออะไร?

ระบบบริหารประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Performance Management System : PMS) มิได้เพียงแค่กำหนดปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลเท่านั้น แต่ยังได้เชื่อมโยงตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดขึ้นมากับวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายและ กลยุทธ์ขององค์กร จากภาพแสดงดังนี้

  2. ตัวชี้วัดผลการทำงานแบ่งเป็นกี่ระดับ?

ระดับของตัวชี้วัดผลการทำงานโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 ระดับได้แก่
  • ระดับองค์กร (Organization Indicators)
  • ระดับหน่วยงาน (Department Indicators)
  • ระดับบุคคล (Individual Indicators)
 
3. ตัวชี้วัดผลในแต่ละระดับหมายความว่าอย่างไร?

ตัวชี้วัดระดับองค์กร (Organization Indicators) หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดผลการทำงานในภาพรวมขององค์กร เป็นตัวชี้วัดหลักเพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ขององค์กร เช่น รายได้ ส่วนแบ่งการตลาด ผลผลิต ความพึงพอใจของลูกค้า เป็นต้น

ตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน (Department Indicators) หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดผลการทำงานของหน่วยงาน อาจจะเป็นในระดับฝ่าย ระดับแผนก หรือระดับส่วนงาน ทั้งนี้ตัวชี้วัดดังกล่าวจะแตกต่างกันตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ เช่น งานจัดซื้อ : ระยะเวลาการจัดซื้อ จำนวนผู้ผลิต (Supplier) ต้นทุนที่ใช้ เป็นต้น

ตัวชี้วัดระดับบุคคล (Individual Indicators) หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดผลการทำงานของพนักงานรายบุคคลตามขอบเขตหน้าที่งานที่รับผิดชอบ ทั้งนี้พนักงานที่มีหน้าที่งานคล้ายกัน ตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นควรจะไม่แตกต่างกัน

สิ่งที่ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานระดับบุคคล



การกำหนดตัวชี้วัดของพนักงานรายบุคคลควรเริ่มจากการกำหนดคำบรรายลักษณะงาน (Job Description) ของ
ตำแหน่งงานที่รับผิดชอบก่อน เพราะคำบรรยายลักษณะงานจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงมีหน้าที่งานอะไรบ้างที่ต้องรับผิดชอบ (What) และทำอย่างไรให้การทำงานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ (How) ซึ่งคำบรรยายลักษณะงานจะใช้เป็นแนวทางสำหรับพนักงานในการกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานของงานที่รับผิดชอบ และเพื่อให้การกำหนดตัวชี้วัดของพนักงานเป็นไปอย่างถูกต้อง พนักงานจำเป็นต้องมีส่วนรับรู้หน้าที่งานของตน โดยหัวหน้างานจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนและความเข้าใจให้กับพนักงานเกี่ยวกับขอบเขตหน้าที่งานของตนเอง



บทความโดย :  อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์ 
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
   
 5611
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์