กองทุน LTF | กองทุน RMF |
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของตลาดหุ้น ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ลงทุนรายย่อยลงทุนในตลาดหุ้นผ่านกองทุนรวม โดยมีระยะเวลาในการลงทุนในระยะเวลาหนึ่ง เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลา และต้องยอมรับความเสี่ยงและเงื่อนไขของการลงทุนได้ | มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมเงินในระยะยาวสำหรับชีวิตหลังเกษียณ เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการออม เงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะคนที่ไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณมารองรับ หรือมีสวัสดิการแต่มีความต้องการออมเพิ่ม |
นโยบายและเงื่อนไขการลงทุน
กองทุน LTF | กองทุน RMF |
ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท จดทะเบียนไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV เมื่อลงทุนแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน คือ ไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการลงทุน (ถ้ามี) และไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาจากเงินลงทุนที่ขายคืนนั้น | มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน ผู้ซื้อกองทุนต้องซื้อหน่วยลงทุนในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี จะต้องมีปีในการลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องถือไว้จนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีครบถ้วน |
เงินลงทุนขั้นต่ำสุดและสูงสุด
กองทุน LTF | กองทุน RMF |
ไม่มีการกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ แต่สามารถลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี | ลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปีอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ว่าจำนวนเงินใดจะต่ำกว่า และสามารถลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีในแต่ละปีและเมื่อรวมเข้ากับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กบข. ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี |
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
กองทุน LTF | กองทุน RMF |
- เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
- กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ได้รับการยกเว้นภาษี |
- เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
- กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ได้รับการยกเว้นภาษี |
กำหนดการขายคืนหน่วยลงทุน
กองทุน LTF | กองทุน RMF |
ไม่เกินปีละ 2 ครั้งตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน | ทุกวันทำการ หรือตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน |
ความต่อเนื่องในการลงทุน
กองทุน LTF | กองทุน RMF |
ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยจะนับเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี | ต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไข โดยนับเวลาแบบวันชนวัน เริ่มจากวันแรกที่ได้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน |
เมื่อเราทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างกองทุนทั้ง 2 แบบแล้ว เราจึงต้องวางแผนทางการเงินให้ดี อย่ามุ่งหวังในเรื่องของเงินมากจนเกินไป เพราะเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ปลีกย่อยของกองทุนแต่ละที่ก็ไม่เหมืออนกัน จึงต้องทำการศึกษารายละเอียดการลงทุนให้มั่นใจเสียก่อนว่าเหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงินของเราเป็นสำคัญ และอย่าลืมเป้าหมายหลักๆ ที่จะตั้งใจลงทุนเพื่อชีวิตหลังเกษียณ และถึงแม้ว่าแต่ละกองทุนจะมีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี แต่อย่ายึดเป็นเหตุผลหลักที่จะตัดสินใจเลือกที่จะลงทุนในกองทุนนั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://www.set.or.th/education/th/begin/mutualfund_content11.pdf