• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • HRMI Tips

  • มนุษย์เงินเดือนควรรู้ "ยื่นภาษี 2566" สามารถลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง

มนุษย์เงินเดือนควรรู้ "ยื่นภาษี 2566" สามารถลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • HRMI Tips

  • มนุษย์เงินเดือนควรรู้ "ยื่นภาษี 2566" สามารถลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง

มนุษย์เงินเดือนควรรู้ "ยื่นภาษี 2566" สามารถลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง


ทุกคนที่มีรายได้ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ ขายของออนไลน์ เป็นฟรีแลนซ์ หรือแม้กระทั่งมนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่ ที่เป็นเหล่า First Jobber เพิ่งก้าวเช้าสู่วัยทำงาน ได้เพียงปีเดียวหรือยังไม่เต็มปี คงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับคำว่า "ภาษี" หากเป็นผู้ที่มีรายได้ กฎหมายสรรพากรกำหนดให้ประชาชนคนไทยจำเป็นต้องยื่นภาษีแสดงรายได้ เพื่อแสดงรายได้ที่ได้รับตลอดทั้งปี อีกทั้งยังถือเป็นหลักฐานการยื่นธุรกรรมในอนาคตได้ เช่น การขอกู้เงิน กู้สินเชื่อต่างๆ และภาษีเหล่านั้นจะถูกนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

ความสำคัญของการวางแผนลดหย่อนภาษี

การวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เสียภาษีควรทำเพื่อลดภาระภาษีที่ต้องชำระในแต่ละปี ช่วยให้ผู้เสียภาษีมีเวลามากขึ้นในการประมวลผลและวางแผนการเงินในอนาคต โดยใช้เงินที่ประหยัดจากการลดหย่อนภาษีในการลงทุนหรือชำระหนี้ เพื่อเพิ่มรายได้ในอนาคต หรือแม้กระทั่งวิธีลดหย่อนภาษีที่เราเลือกก็ถือเป็นผลประโยชน์กับตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวม การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งการจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนี้ การวางแผนลดหย่อนภาษียังช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างความมั่งคั่ง หรือทำกิจกรรมทางธุรกิจในขณะที่เพิ่มรายได้และลดภาระภาษีในอนาคต

ดังนั้น การวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เสียภาษีควรทำเพื่อลดภาระภาษีในปัจจุบันและมีเวลามากขึ้นในการวางแผนการเงินในอนาคต โดยผู้เสียภาษีควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการวางแผนภาษีของตนเอง

ประเภทค่าลดหย่อนภาษี "ยื่นภาษี 2566" ที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้

การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องถามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษี ในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ เอกสารหลักฐานที่ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีคือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม และบุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน
  • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี 

2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนค่าเบี้ยประกันของคู่สมรสได้สูงสุด 10,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป 
  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป

ทั้งนี้ ค่าลดหย่อนภาษีที่ใด้รับสิทธิเมื่อรวมกับ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบช.)

  •      กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  •      กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
  •      กองทุนสงเคราะห์ตรูโรงเรียนเอกชน
  •      และ RMF แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

5. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • โครงการช้อปดีมีคืน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565 ตามที่จ่ายจริง โดยสินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP สินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book) 

ขอบคุณที่มา : https://www.komchadluek.net/
 340
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์