ประจำเดือนสิงหาคม 2565

ประจำเดือนสิงหาคม 2565

ปรับการแสดงรหัสเงินได้ มาตรา 40(2) สำหรับนำส่งภาษี

ให้ตรวจสอบจากประเทศในที่อยู่ปัจจุบันของพนักงาน

เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลนำส่งภาษีของเงินได้มาตรา 40(2) นั้นมีการจำแนกรหัสเงินได้จากประเทศที่ผู้มีเงินได้อาศัยอยู่ ดังนั้นจึงเพิ่มการตรวจสอบประเทศที่ผู้มีเงินได้อาศัยอยู่จากที่อยู่ปัจจุบันของพนักงานด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  

รูปแบบการนำส่งภาษีที่รองรับ

- ภ.ง.ด. 1

- ภ.ง.ด. 1

- ภ.ง.ด. 1 ยื่นผ่าน Internet

- ภ.ง.ด. 1ก ยื่นผ่าน Internet

- ภ.ง.ด. 1 ยื่นผ่านสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนดำเนินการ

- พนักงานมีที่อยู่ในประเทศไทย จะแสดง รหัสเงินได้ ของเงินได้มาตรา 40(2) เป็น 4

- พนักงานมีที่อยู่ในประเทศอื่น จะแสดง รหัสเงินได้ ของเงินได้มาตรา 40(2) เป็น 5

โดยอ้างอิงจากรูปแบบที่กำหนดไว้ (ยกตัวอย่าง รูปแบบ ภ.ง.ด. 1)

 

- พนักงานมีที่อยู่ปัจจุบันอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

 

- พนักงานได้รับเงินได้มาตรา 40(2) และมีการประมวลผลรายได้ ตามปกติ

- จัดเก็บข้อมูลนำส่งภาษี ไฟล์ที่ได้จะแสดงดังรูป (ยกตัวอย่าง รูปแบบ ภ.ง.ด. 1)

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    เพิ่มการตั้งค่า เมื่อพบข้อมูลที่ผิดพลาด ให้ย้ายไฟล์ไปยังโฟลเดอร์ "Old Files"

              เนื่องจากเมื่อ Service Auto Import Time ทำการ Import ข้อมูลการลงเวลาทำงานในไฟล์จาก Path File ที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว จะทำการย้ายไฟล์ไปไว้ในโฟลเดอร์ Old Files ส่วนไฟล์ที่ยัง Import ข้อมูลภายในไฟล์ไม่ครบจะอยู่ใน Path File เดิม เมื่อมีไฟล์ข้อมูลการลงเวลาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้แยกไฟล์ข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่ยากขึ้น ดังนั้นจึงมีการเพิ่มให้สามารถตั้งค่า เมื่อพบข้อมูลที่ผิดพลาด ให้ย้ายไฟล์ไปยังโฟลเดอร์ "Old Files" ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

     

    ขั้นตอนดำเนินการ

    - ตั้งค่าจาก Tools > Service Setting > Auto Import Time

    - เลือก เมื่อพบข้อมูลที่ผิดพลาด ให้ย้ายไฟล์ไปยังโฟลเดอร์ "Old Files"

    - เมื่อ Start Service Auto Import Time จะทำการ Import ข้อมูลการลงเวลาทำงานในไฟล์จาก Path File ที่กำหนดไว้

    - เมื่อ Service ทำการ Import ข้อมูลเสร็จสิ้น ไม่ว่าจะพบข้อมูลที่ผิดพลาดในไฟล์หรือไม่ ระบบจะทำการย้ายไฟล์ไปที่โฟลเดอร์ Old Files

     






    ปรับให้สามารถเลือกลงโทษพักงานแบบรวมวันหยุดให้กับพนักงานรายเดือนได้


             

    เนื่องจากการลงโทษพักงานจะนับจำนวนวันที่พักงานเฉพาะวันที่มีการกำหนดกะงานไว้ในตารางการทำงานเท่านั้น เมื่อช่วงวันที่ลงโทษพักงานมีวันหยุดรวมอยู่ พนักงานรายเดือนจะไม่ถูกหักค่าจ้างในวันหยุด ดังนั้นจึงปรับให้เลือก “นับวันหยุด” ในช่วงพักงานได้ เพื่อให้สามารถหักเงินในช่วงพักงานรวมวันหยุดได้อย่างครบถ้วน โดยมีรายละเอียดดังนี้

      

                ขั้นตอนดำเนินการ

    - ตารางการทำงานของพนักงานมีทั้ง วันทำงาน วันหยุด และวันหยุดนักขัตฤกษ์

      

    - เมื่อลงโทษพักงานวันที่ 22/07/2022 – 29/07/2022

    - กรณีไม่เลือกนับรวมวันหยุด จะนับจำนวนวันที่พักงานเฉพาะวันที่มีกะงานเท่านั้น ซึ่งมี 5 วัน ดังรูป

     

    - กรณีเลือกนับรวมวันหยุด จะนับจำนวนวันที่พักงานทุกวันในช่วงวันที่ที่เลือก ซึ่งมี 8 วัน ดังรูป

     

    เพิ่มเติม

    - เมื่อมีการประมวลผลรายได้ พนักงานจะถูกหักพักงานตามจำนวนวันที่แสดงในเอกสารลงโทษ

    - ตัวเลือก “นับวันหยุด” จะเปิดให้ใช้งานเฉพาะ พนักงานประเภทรายเดือน เท่านั้น

     514
    ผู้เข้าชม
    สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์