เปลี่ยน work hard เป็น work smart ด้วย Systematic Thinking อัพสกิลคิดอย่างเป็นระบบ

เปลี่ยน work hard เป็น work smart ด้วย Systematic Thinking อัพสกิลคิดอย่างเป็นระบบ


บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินคำพูดที่ว่า “แทนที่จะ 
work hard ให้เปลี่ยนมาเป็น work smart จะดีกว่า” แต่ว่า “work smart” คือนิยามการทำงานแบบไหน ที่จะแทนที่การทำงานหนักเพื่อผลลัพธ์ที่มากกว่าตามค่านิยมสมัยก่อน? วันนี้ JobsDB อยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับคำว่า Systematic thinking 

Work smart แบบที่เราจะนำเสนอ ก็คือ การทำงานแบบได้รับการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการจัดตารางงานอย่างเป็นระเบียบ ทำงานในเวลางาน แต่เน้นที่ทำงานเต็มที่เพื่อที่จะได้เหลือเวลาไปพักผ่อนและใช้ชีวิต ซึ่งจุดเริ่มต้นทั้งหมดของการ work smart ก็คือการคิดอย่างเป็นระบบ หรือ Systematic thinking

           Systematic thinking คือ การคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีระบบการคิดโดยมองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายละเอียดที่สัมพันธ์กัน เป็นการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้สามารถวางระเบียบให้กับการกระทำและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด นี่ทักษะสำคัญในการทำงาน โดยเฉพาะกับผู้บริหารที่ต้องรับภาระหน้าที่ มีเรื่องให้ต้องคิด ต้องรับผิดชอบมากมาย

           การทำงานโดยใช้การคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจะช่วยให้สามารถมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์ งานและปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของเหตุการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ มองเห็นว่าองค์ประกอบเหล่านั้นสัมพัทธ์กันอย่างไร และจะต้องทำอะไรหรือแก้ตรงจุดไหนเพื่อให้ผ่านพ้นปัญหาไปได้ หรือทำให้ผลลัพธ์ของการทำงานออกมาดีที่สุด ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจและวางแผนงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวมไปถึงการจัดการงานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

           ในหนังสือ The Fifth Discipline : The art and practice of the learning organization ของ Peter Senge ศาสตราจารย์จาก MIT ได้กล่าวถึงหัวใจของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้คือการสร้างเสริมวินัย ประการ ซึ่ง ในนั้นคือการส่งเสริมให้องค์กรมี Systematic Thinking ทั้งในระดับบุคคล (Personal) และ ทีม (Team) เพื่อผลลัพธ์การทำงานที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์และสามารถพัฒนาขีดความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง

สร้างการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนด้วยทฤษฎีหมวก 6 ใบ

           ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน (Dr.Edward de Bono) ศาสตราจารย์ด้านการคิดชาวอิตาลีได้คิดค้นทฤษฎีหมวก ใบ หรือ Six Thinking Hats เพื่อใช้เป็นหลักวิธีคิดแบบรอบด้าน โดยเปรียบเทียบความคิดด้านต่าง ๆ กับ หมวก ใบที่แบ่งเป็นสี สี ซึ่งเป็นการสร้างระบบความคิดที่ครอบคลุม และจัดระเบียบความคิดที่มักจะกระจัดกระจายให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยหมวกทั้ง ใบประกอบไปด้วย

  • White hat – หมวกสีขาว หมายถึง ข้อเท็จจริง ข้อมูลพื้นฐาน ที่อาจจะเป็นตัวเลข หรือผลการศึกษาวิจัยที่มีข้อมูลรองรับที่เชื่อถือได้ เป็นการคิดวิเคราะห์จากข้อมูลและข้อเท็จจริงเป็นหลักโดยที่ตัดทัศนคติและความเห็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลออกไป
  • Red Hat – หมวกสีแดง หมายถึง การแสดงออกตามอารมณ์ ความรู้สึก การใช้สัญชาตญาณและลางสังหรณ์ หรือ gut feeling โดยไม่ต้องคิดถึงเหตุผลใด ๆ เพื่อมาประกอบการตัดสินใจ
  • Black Hat – หมวกสีดำ หมายถึง ความคิดเชิงลบ การมองจุดด้อย อุปสรรคและข้อจำกัดต่าง ๆ การคิดถึง worst case scenario หรือสิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ ความคิดนี้จะช่วยประเมินความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น และทำให้สามารถวางแผลเพื่อลบจุดด้อยต่าง ๆ ได้ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง
  • Yellow Hat – หมวกสีเหลือง หมายถึง ความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดี มองเห็นจุดเด่น ประโยชน์ หรือโอกาส การมีความหวังว่างานหรือการตัดสินใจเหล่านั้นจะส่งผลดีอย่างไรบ้าง ความคิดเชิงบวกเหล่านี้จะช่วยให้เรามองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่แม้ในสถานการณ์ที่ไม่สู้ดี
  • Green Hat – หมวกสีเขียว หมายถึง ความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดนอกกรอบที่ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ แต่อาศัยประสบการณ์เป็นพื้นฐานความคิด และต่อยอดความคิดนั้น เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น
  • Blue Hat – หมวกสีน้ำเงิน หมายถึง การประกอบและบริหารกระบวนการคิดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจน สามารถมองเห็นภาพรวมได้ มีข้อสรุป มองเห็นข้อดี ข้อเสียอย่างตรงไปตรงมา สร้างสมการและจัดระบบความคิดได้อย่างเป็นระเบียบผ่านการมองให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนและลงตัวที่สุดสำหรับผลลัพธ์การทำงานที่ตั้งเป้าหมายไว้

           หมั่นฝึกการคิดแบบ Systematic Thinking ด้วยทฤษฎีหมวก ใบ เชื่อได้ว่าจะทำให้คุณกลายเป็นผู้บริหารองค์กรที่สามารถมองเห็นภาพรวมของปัญหาและคิดได้รอบด้านก่อนตัดสินใจ ยิ่งฝึกบ่อยจนเป็นนิสัย ก็จะทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้นแต่ยังมีความแม่นยำเหมือนเดิม และถ้านำไปประยุกต์ใช้กับองค์กร ส่งเสริมให้พนักงานหรือลูกน้องฝึกคิดฝึกแก้ปัญหาด้วยการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเหมือนกัน ก็จะทำให้พนักงานสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ มีความคิดที่ครอบคลุม ลดความขัดแย้งในความคิดที่ไม่จำเป็น และยังสามารถดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้องค์กรพัฒนาและเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!



ที่มา : Link

 524
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์