• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • HRMI Tips

  • เจาะใจ คน Gen z มากกว่าเงินเดือน สิ่งที่เลือกคือวิสัยทัศน์ขององค์กร

เจาะใจ คน Gen z มากกว่าเงินเดือน สิ่งที่เลือกคือวิสัยทัศน์ขององค์กร

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • HRMI Tips

  • เจาะใจ คน Gen z มากกว่าเงินเดือน สิ่งที่เลือกคือวิสัยทัศน์ขององค์กร

เจาะใจ คน Gen z มากกว่าเงินเดือน สิ่งที่เลือกคือวิสัยทัศน์ขององค์กร


วันนี้คลื่นลูกใหม่ “คน Gen Z” กำลังก้าวสู่สังคมคนทำงานอย่างเต็มตัวและเป็น First Jobber ที่เป็นกำลังแรงงานหลักของหลาย ๆ บริษัท แต่ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับการลาออกของเด็กจบใหม่เป็นจำนวนมาก แม้บางแห่งจะให้เงินเดือนสูงก็ตาม

จริง ๆ แล้วในโลกของการทำงานของคน Gen Z เรื่องของเงินเดือน ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการฝากชีวิตทำงานยาว ๆ ไว้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หากเข้าไปทำงานแล้วรู้สึกไม่สนุกหรือเบื่อกับสภาพแวดล้อมขององค์กรนั้น ๆ เพราะพื้นฐานของ คน Gen Z มองว่า อนาคตของตัวเองต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าวันนี้ ดังนั้น หากจะตัดสินใจทำงานกับองค์กรใด องค์กรนั้นต้องมีสิ่งที่ดึงดูดใจ ดังนี้  

  • วิสัยทัศน์ขององค์กร หรือ Vision ตรงใจ ผู้นำองค์กรมีวิสัยทัศน์กว้างไกลรับกับเมกะเทรนด์ใต้โลกดิจิทัล จะยิ่งเป็นแรงดึงดูดให้ชาว Gen Z วิ่งเข้าหา อยากสมัครงานกับองค์กรที่มีวิสัยทัศน์แบบนี้ เพราะอยากมีส่วนร่วมสร้างการเติบโตกับบริษัทเช่นนี้
  • เงินเดือนคือเรื่องรอง หนุ่มสาวรุ่นใหม่ไฟแรงหลายคนมีความคิดว่า เมื่อตัดสินใจเข้ามาทำงานแล้ว ก็จะทุ่มเททำงานให้อย่างเต็มกำลังและความสามารถ เพราะฉะนั้นองค์กรที่ดีจึงควรให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับแรงกายและแรงใจของเราด้วยเช่นกัน ซึ่งการให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่านี้ ไม่ได้หมายถึงเรื่องเงินเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงสวัสดิการ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสุข ความยืดหยุ่น ความน่าตื่นเต้นท้าทายของตัวงานอีกด้วย
  • หน้าที่ความรับผิดชอบงานต้องมาก่อน คน Gen Z เมื่อได้รับมอบหมายงานให้ทำ นอกจากจะใช้ความรู้ความสามารถในการทำงานแล้ว ยังเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อปูทางสู่โอกาสความก้าวหน้าการทำงานในอนาคตอีกด้วย พวกเขาจึงมักจะทุ่มเทกับงานเต็มที่ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้ได้มากที่สุดแล้วนำประสบการณ์นั้นไปต่อยอดในอนาคต
  • สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ นี่คืออีกปัจจัยหนึ่งที่จูงใจให้คน Gen Z อยากเข้ามาทำงาน ทั้งสถานที่และเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น การส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาตัวเองด้วยการเข้าร่วมเวิร์กช็อปต่าง ๆ การให้โบนัส รวมไปถึงค่าอาหาร ค่าสมัครฟิตเนส ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าองค์กรใส่ใจ และให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตพนักงาน รวมถึงการบาลานซ์ชีวิตทำงาน (Work-life balance) อีกด้วย
  • การเดินทางสะดวก เลือกทำงานกับบริษัทที่ตั้งอยู่ตามแนวรถไฟฟ้า หรือระยะเส้นทางที่ไม่ไกลบ้านมากเกินไป เพื่อประหยัดเวลา ไม่อยากเผชิญปัญหารถติด และลดค่าใช้จ่ายด้วย

           ในสถานการณ์ปัจจุบัน โครงสร้างองค์กรของบริษัทต่าง ๆ เริ่มเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนถ่ายเลือดเก่าจากบุคลากรรุ่นเก่ายุค “เบบี้บูมเมอร์” ส่งต่อให้คน Gen X ก้าวขึ้นมานั่งตำแหน่งผู้บริหารแทนที่ในช่วงระยะ 4-5 ปีข้างหน้า ขณะที่ Gen Y ตอนปลาย ที่เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาตามลำดับจะเป็นฐานรากสำคัญ โดยที่คน Gen Z  เป็นกำลังพลขับเคลื่อนบริษัทให้เดินหน้าเติบโตต่อไป

           ดังนั้น โครงสร้างคนทำงานของบริษัทต่าง ๆ จึงไม่เหมือนเดิม และจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อสอดรับกับโครงสร้างใหม่ โดยภารกิจเร่งด่วนของบริษัทต้องทำแผนเพื่อดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาภายในองค์กร เพื่อรองรับกับคน Gen Y และ Gen Z ดังนี้

  • การปรับระบบบริหารงาน จากโครงสร้างเดิมที่ติดภาพเก่าการบริหารแบบ “บนลงล่าง” หรือแนวตั้งที่ผู้นำสั่งการลงมาตามลำดับชั้น ซึ่งทำให้การทำงานมีความล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นในโลกดิจิทัล ควรเปลี่ยนเป็น “Agile” ที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรเน้นการทำงานเป็นทีม ช่วยเพิ่มความคล่องตัว ว่องไว และมีความยืดหยุ่นสูง
  • ลงทุนพัฒนาระบบเทคโนโลยี รองรับการบริหารรูปแบบใหม่ ปัจจุบันกำลังคนทำงานที่เป็นรุ่นใหม่ทั้ง Gen Y และ Gen Z การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีให้พวกเขาใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานเพิ่มประสบการณ์ใหม่ ๆ จะยิ่งสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ตามความถนัด ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น
  • เปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็น การให้อิสระในการทำงานที่มีความยืดหยุ่น จะช่วยดึงศักยภาพในตัวคนทำงาน ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์แก่บริษัทได้มากขึ้น นอกจากนี้ การให้ความสำคัญเรื่องความสำเร็จเฉพาะตัวบุคคลแก่พนักงานก็ยิ่งเป็นแรงส่งให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงาน รู้สึกมีความสุข และสนุกกับการทำงานกับองค์กรนี้ไปอีกนาน 



ที่มา : Link
 596
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์