ปรัชญาการทำงานของคนญี่ปุ่นอิคิไก Ikigai 生き甲斐

ปรัชญาการทำงานของคนญี่ปุ่นอิคิไก Ikigai 生き甲斐


Ikigai อิคิไก
 คำคำนี้ เป็นอีกคำที่เป็นที่รู้จักและกว้างขวางในวงการ ของคนญี่ปุ่นและคนที่มีประสบการณ์การการทำงานกับคนญี่ปุ่น คำนี้หมายถึง คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ที่แท้จริง ที่มาจากคำว่า อิกิ (iki) ที่แปลว่า การมีชีวิต และ ไก (gai) ที่แปลว่า คุณค่า ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ จุดประสงค์ของการมีชีวิตอยู่ โดยอิคิไก คือ ปรัชญาเซน ที่ต้องการให้มนุษย์ชื่นชมความงามของสิ่งรอบตัว ด้วยการสร้างความสุขทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ ผ่านการรู้ สึกตัวและค้นพบตัวตน

แต่ในโลกสังคมปัจจุบัน เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน และทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง ผู้คนส่วนมากมักจะหมดไฟ (Burnout) ในการทำงาน แล้วทฤษฎี ikigai จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างไร ลองอ่านบทความนี้แล้วจะพบกับคำตอบ

หลักการของอิคิไก ikigai คือการตอบคำถาม 4 ข้อพื้นฐาน เพื่อตอบคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ในแต่ละวัน มีดังต่อไปนี้

1. อะไรคือสิ่งที่เรารัก (What you love)

คือ สิ่งใดที่ทำแล้วทำให้เกิดความสุข อยากทำสิ่งนั้น เพื่อจะได้พัฒนาศักยภาพในตัวเราให้ดียิ่งขึ้น และยังทำให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ก่อนสมัครงานเราสามารถพิจารณาถึง สิ่งที่เรารักและอยากจะทำก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อนำไปสู่การเลือกงานที่เหมาะสมกับตัวเราจริง ๆ และจะทำให้สามารถอยู่ในองค์กรนั้นได้นาน และใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่

2. อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดี (What you are good at)

คือ สิ่งใดที่เรามีความสามารถทำได้ดีกว่าสิ่งอื่น หรือจะเรียกว่า Hard skill ทักษะความรู้ความสามารถที่ใช้ในการทำงาน เกิดจากการฝีกฝนจนชำนาญ จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญ เช่น ความสามารถที่เป็นทักษะเฉพาะตัวต่าง ๆ ที่เราสามารถนำเสนอต่อผู้สัมภาษณ์งานเพื่อให้ได้งานนั้น โดยบางครั้งทักษะที่เรามีความสามารถไม่จำเป็นต้องตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมาโดยตรง อาจเกิดจากการฝึกฝนของตนเอง จนเกิดความชำนาญ ถ้าเราค้นพบว่าเรามีความสามารถในเรื่องใด เราก็จะพบ อิคิไก ikigai ของชีวิตเราง่ายขี้น

3. สิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ (What you can be paid for)

คือ สิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้เรา สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น การหางานที่เราชอบและถนัดจะนำไปสู่รายได้ ทั้งงานประจำ และงานนอกเวลาอื่น ๆ จากวิชาหรือสาขาที่เรียนจบมาทำให้เรารู้ถึงความชอบ ความถนัดของตนเองแล้ว ก็จะนำไปสู่การสมัครงานที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของเรา เพื่อก่อให้เกิดรายได้ในรูปแบบงานประจำ เป็นต้น

4. สิ่งที่สังคมต้องการ (What the world needs)

คือ สิ่งที่โลกหรือสังคมต้องการและเป็นประโยชน์ต่อโลก สังคม ตลอดจนบริษัทที่ทำงานอยู่ เช่นทักษะของการทำงานที่เรามีอยู่ สามารถช่วยเหลือสังคมในอนาคตได้หรือไม่ เมื่อมองเห็นงานหรือทักษะที่เป็นที่ต้องการขององค์กรแล้ว แสดงว่าเราค้นพบ อิคิไก ikigai ของตนเองในข้อหนึ่ง


ที่มา : Link

 1250
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์