เทคนิคบริหารเวลาทำงานด้วย Time Boxing

เทคนิคบริหารเวลาทำงานด้วย Time Boxing



การบริหารจัดการเวลาถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับคนทำงานตั้งแต่พนักงานทั่วไป ไปจนถึงระดับผู้บริหาร การบริหารจัดการเวลานับเป็นสิ่งท้าทายความสามารถอย่างหนึ่งเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมือใหม่ที่เริ่มทำงาน รวมไปถึงคนที่ได้เลื่อนขั้น หรือเปลี่ยนสายงานซึ่งอาจต้องจัดการงานที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งการบริหารจัดการเวลานี้เรียกว่า Time Boxing ที่ไม่เพียงแค่เป็นการลิสต์รายการสิ่งที่ต้องทำเท่านั้น แต่ยังช่วยจัดการการทำงานในแต่ละวันอีกด้วย
  1. จัดลำดับความสำคัญของงาน

ในการบริหารจัดการเวลาในการทำงานนั้นจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นจากการลิสต์รายการงานที่ต้องทำ โดยแบ่งงานออกเป็น 4 กลุ่มตามหลักของ Eisenhower Matrix ซึ่งเป็นการจัดลำดับความสำคัญของงานจากแนวคิดของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Urgent and important งานที่สำคัญและเร่งด่วน, Urgent but not important เป็นงานที่เร่งด่วน แต่ไม่สำคัญ, Important but not urgent เป็นงานที่สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน, Not important and not urgent เป็นงานที่ไม่สำคัญ และไม่เร่งด่วน

  1. แจกแจงรายละเอียดปลีกย่อยของงานแต่ละชิ้น

เมื่อแบ่งงานออกเป็น 4 กลุ่มแล้วจึงแตกย่อยรายละเอียดของงานแต่ละชิ้นที่ต้องทำ เพื่อแสดงให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมด รวมถึงเป็นตัวช่วยกำหนดระยะเวลาการทำงานให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

  1. จัดงานแต่ละชิ้นให้อยู่ในตารางเวลาของวัน

 หลังจากที่ได้จำนนวนงานที่ต้องทำใน 1 วัน พร้อมกับระยะเวลาในการทำงานแต่ละชิ้นแล้ว ให้นำงานมาจัดวางในตารางเวลาของแต่ละวัน โดยยึดตามลำดับความสำคัญของงานเป็นหลัก โดยการจัด Tomboxing ควรจัดตารางเป็นรายสัปดาห์ โดยเผื่อเวลาของแต่ละวันไว้เตรียมรับมืองานด่วนที่แทรกเข้ามาได้

ประโยชน์ของการทำ Time Boxing

  1. จัดการสมดุลเวลาการทำงาน และการใช้ชีวิตของตัวเองได้ เพราะ Time Boxing เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจต้องทำอะไรต่อไป เนื่องจากเราได้วางแผนการบริหารจัดการเวลาของเราล่วงหน้าแล้วว่าต้องทำงานชิ้นใด เมื่อไหร่ และเมื่อเสร็จต้องทำงานชิ้นไหนต่อ
  2. การมีกำหนดเวลาที่แน่นอนในการทำงานจะช่วยให้เรามีสมาธิ และช่วยเพิ่มโฟกัสให้กับการทำงานแต่ละชิ้น ซึ่งตามปกติแล้วในการทำงานของเราจะเป็นการทำงานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากมีกำหนดเวลาตายตัวก็จะช่วยเร่งความเร็วในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น
  3. เป็นเครื่องมือในการรีเช็คว่าในวันหนึ่ง หรือสัปดาห์หนึ่งเราทำงานได้ตรงไปตามเป้าที่วางไว้หรือไม่ มีอะไรที่สำเร็จไปตามแผน และอะไรที่ยังไม่เสร็จ โดยให้งานที่ทำสำเร็จแล้วเป็นตัวกระตุ้นในการทำงานต่อไป

ข้อควรระวังสำหรับการทำ Time Boxing

 ประเมินการทำงานและเวลาที่ใช้ในการทำงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่ประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะถ้างานไม่เสร็จตามเป้าหมายจากการกำหนดเวลาที่น้อยเกินไปจะส่งผลให้ตารางการทำงานรวนไปทั้งวัน รวมถึงบั่นทอนกำลังใจในการทำงานอีกต่างหาก

– จัดแบ่งตารางเวลาสำหรับการพักผ่อนบ้าง ในหนึ่งวันไม่จำเป็นต้องจัดตารางงานที่แน่นเกินไป เพราะถ้าทำงานเกินกำลังเท่าไหร่ก็ยิ่งลดทอนกำลังใจในการทำงานมากขึ้นเท่านั้น

สำหรับเทคนิคการทำ Time Boxing เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือช่วยจัดตารางเวลาเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือวินัยในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ต้อง Work From Home ซึ่งต้อองมีตัวกระตุ้นในการทำงานที่บ้านเป็นอย่างมาก หวังว่าเคล็ดลับการทำ Time Boxing จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทุกคนที่ต้องทำงานได้เพิ่มขึ้น


ที่มา : Link

 455
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์