081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosofthrmi.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Business Flow
Organization
Personnel
Time Attendance
Payroll
Approve Center
Recruitment
Training
Welfare
Loan Management
Job Control
Management Information
Dashboard
Reports
Employee Self Service (ESS)
Multi Company
Human Capital Management (HCM)
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
Manual
System Requirements
New Feature HRMI
E-Newsletter
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
HR Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Award & Standard
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
News
HR Articles
HRMI Tips
ประชุมอย่างไร ไม่ให้ออกทะเล
ประชุมอย่างไร ไม่ให้ออกทะเล
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
HR Articles
HRMI Tips
ประชุมอย่างไร ไม่ให้ออกทะเล
ประชุมอย่างไร ไม่ให้ออกทะเล
ย้อนกลับ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การประชุม” เป็นหนึ่งกิจกรรมหลักของชีวิตการทำงาน และถือเป็นหนึ่งกิจกรรมการสื่อสารที่สำคัญของทุกคนในบริษัท แต่บ่อยครั้งกลับพบว่า เราต้องเข้าร่วมการประชุมที่มองแล้วไม่น่าจะก่อเกิดประโยชน์อะไร จนบางทียังแอบคิดไปว่าไม่ประชุมยังจะดีกว่า ไม่ต้องเสียเวลา เสียอารมณ์ แถมยังออกทะเลไปไกล และคงไม่ใช่แค่ตัวเราคนเดียวที่เคยคิดเช่นนั้น เพราะในปี 2019 จากข้อมูลของ Business Insider เว็บไซต์ด้านการเงินและธุรกิจของสหรัฐอเมริกา พบว่า
- ค่าเฉลี่ย 1 วันทำการในสหรัฐอเมริกา จะมีการประชุม 11 ล้านครั้ง และสัดส่วน 1 ใน 3 มักจะเป็นการประชุมที่ไม่เกิดประโยชน์อะไร
- ความสูญเสียที่เกิดจากการประชุมของบริษัทต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ประเมินเป็นค่าเสียโอกาสได้คร่าว ๆ สูงถึงราว 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี
ดังนั้น เพื่อลดปัญหาการประชุมออกทะเลข้างต้น ก่อนที่จะเริ่มประชุมในแต่ละครั้ง
ลองมาดูกันว่า เราควรวางแผนอย่างไร เพื่อช่วยให้การประชุมเกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้บ้าง ?
1. กำหนดวาระการประชุม ตั้งเป้าหมายชัดเจน
ก่อนเริ่มการประชุมทุกครั้ง สมาชิกองค์ประชุมควรรู้ว่า หัวข้อหรือวาระการประชุมนั้นคืออะไร และเป้าหมายคืออะไร เช่น ต้องการทราบความเห็น หรือต้องการแจ้งเพื่อทราบ ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าร่วมประชุม พร้อมเสนอความคิดเห็น ซักถามในเรื่องต่าง ๆ เพราะถ้าเราไม่รู้เลยว่าวาระการประชุมคืออะไร เราก็คงไม่สามารถให้ข้อมูล เสนอความเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ดังนั้น การมีหัวข้อหรือวาระการประชุมที่ชัดเจน จะช่วยกำหนดขอบเขตไม่ให้การประชุมนั้นออกนอกเรื่อง และสามารถประเมินเวลาการประชุมได้ ทำให้สมาชิกไม่เสียทั้งเวลาและไม่เสียอารมณ์ในการประชุม
2. อย่าประชุมบ่อยเกินไป
“การประชุมที่มากเกินไปคือ ความหายนะของบริษัทต่าง ๆ และมักจะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป” ประโยคนี้พูดโดย อีลอน มัสก์ ซีอีโอสุดมั่นของ Tesla ดังนั้น ก่อนที่จะเรียกประชุมแต่ละครั้ง เราต้องแน่ใจว่า ควรเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจริง ๆ เพราะการประชุมบ่อยเกินไป นอกจากจะเกิดความเหนื่อยล้าแล้ว ก็ยังทำให้เหลือเวลาทำงานน้อยลงอีกด้วย
3. ประชุมเฉพาะคนที่จำเป็นเท่านั้น
ในการประชุมแต่ละครั้ง ควรเชิญเฉพาะคนที่จำเป็นที่ต้องเข้าประชุมเท่านั้น เพราะคนเหล่านั้นจะสามารถให้ข้อมูล ให้คำตอบ เสนอแนวทางแก้ไขได้ตรงประเด็น และจะทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพ เจฟฟ์ เบโซส ผู้ก่อตั้ง
Amazon.com
เคยกล่าวว่า เขาไม่เพียงแต่จะไม่ชอบการประชุมที่นานเกินไป เขายังไม่ให้คนเข้าร่วมประชุมต่อครั้งมากเกินไปด้วย และเรื่องนี้จึงกลายมาเป็นกฎการประชุมที่เรียกว่า “กฎพิซซา 2 ถาด” หรือ “Two Pizza Rule” โดย เจฟฟ์ เบโซส อธิบายว่า จำนวนคนที่เข้าประชุมแต่ละครั้งนั้น ควรมีจำนวนที่สามารถแบ่งพิซซา 2 ถาดใหญ่ทานด้วยกัน เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว
4. สื่อสาร ซักถาม ในที่ประชุมอย่างตรงไปตรงมา
หลายครั้งที่การประชุมออกทะเล เพราะไม่มีคนออกความเห็น หรือซักถามกัน แต่พอออกจากห้องประชุมกลับมาซักถามกันอีกรอบ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว เมื่อเรามีเรื่องที่ต้องการพูดคุย ก็ควรที่จะพูดในที่ประชุมอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ทุกคนรับรู้ปัญหา หาทางออกร่วมกัน หรือหาข้อสรุปในตอนนั้นเลย เพราะการออกจากห้องประชุมแล้วมาเสนอความเห็น หรือซักถามเพิ่มเติมอีก อาจทำให้บางคนที่อยู่ในห้องประชุมแต่ไม่ได้อยู่ตอนที่เลิกประชุมแล้ว จะไม่ทราบข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม จนทำให้ความคิดเห็นหรือการซักถามต่าง ๆ ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ใด ๆ
5. มีผู้นำในทุกการประชุม
ทุกการประชุม จำเป็นต้องมีผู้นำในการประชุม ซึ่งผู้นำการประชุม ไม่จำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลเสมอไป แต่ต้องเป็นคนที่คอยตัดสินใจ สามารถสรุปประเด็นสำคัญในแต่ละเรื่องได้ พร้อมทั้งดูแลการประชุมให้เป็นไปอย่างราบรื่น และควบคุมการประชุมไม่ให้ออกทะเล ดังนั้น ก่อนที่จะเริ่มประชุมทุกครั้ง ต้องแน่ใจว่าการประชุมนั้นมีผู้นำเพื่อจัดการเรื่องดังกล่าวที่ว่ามาได้ด้วย
6. จดบันทึกการประชุม
หลายครั้งที่การประชุม มักจะมีคำถามว่า “การประชุมครั้งที่แล้วมีข้อสรุปอย่างไร” ซึ่งตัวช่วยที่จะตอบคำถามนี้ก็คือ บันทึกการประชุม หรือ Minute of Meeting นั่นเอง การทำบันทึกการประชุม นอกจากจะทำให้เราจำข้อมูลสำคัญในการประชุมครั้งก่อนได้แล้ว ยังช่วยให้เราติดตามความคืบหน้าจากครั้งก่อนได้ง่ายขึ้น ควรติดตามที่ใคร หรือแม้แต่การติดตามการแก้ไขปัญหาจากครั้งก่อน มาถึงตรงนี้ ต้องยอมรับว่า “การประชุม” เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน
เมื่อใดก็ตามที่เราเริ่มรู้สึกว่า การประชุมกำลังออกทะเล ประชุมแล้วไม่น่าจะเกิดประโยชน์ใด ๆ ก็เท่ากับว่า เรากำลังเป็นส่วนหนึ่งของ การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ อยู่นั่นเอง..
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!
บทความโดย : THE BRIEFCASE
417
ผู้เข้าชม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com