Shift Work ผลกระทบ ความเสี่ยง และการดูแลร่างกายสำหรับคนทำงานเป็นกะ

Shift Work ผลกระทบ ความเสี่ยง และการดูแลร่างกายสำหรับคนทำงานเป็นกะ


ในแต่ละวันบุคลากรขององค์กร หน่วยงาน และธุรกิจต่าง ๆ จะใช้เวลา 7- 8 ชั่วโมงในการทำงาน โดยเริ่มเข้างาน 9.00 -18.00 น. แต่ในธุรกิจบางประเภทจำเป็นต้องมีพนักงานคอยดูแลหน้างานตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ร้านสะดวกซื้อ หรือ โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดการทำงานแบบแบ่งช่วงเวลา ผลัดเปลี่ยนกันทำงาน หรือที่เรียกว่า Shift Work หรือ การทำงานเป็นกะ นั่นเอง  

Shift Work การทำงานที่สวนทางกับนาฬิกาชีวิต

           Shift Work หรือ การทำงานเป็นกะ หมายถึง การแบ่งช่วงเวลา และสลับเวลาในการดูแลงานหรือรับผิดชอบกิจกรรมขององค์กรหรือธุรกิจต่าง ๆ โดยการแบ่งคนเป็นมาประจำตำแหน่งงานในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ลื่นไหล ไม่มีสะดุด 

           การทำงานเป็นกะ จะมีการจัดชั่วโมงทำงานแตกต่างจากเวลาทำงานปกติ โดยช่วงเวลาทำงานหรือการเข้ากะ จะเริ่มตั้งแต่ เวลา 8.00 – 5.00 น. โดยในแต่ละองค์กรอาจมีการจัดโครงสร้างกะงานได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละองค์กร เช่น ในบางองค์กรอาจใช้การเปลี่ยนแปลง 12 ชั่วโมง แบ่งเป็นสองครั้ง หรือ เปลี่ยนแปลง 8 ชั่วโมง แบ่งเป็นสามครั้งต่อวัน เป็นต้น

           สำหรับระบบงานกะอาจแตกต่างกันในทิศทาง และความเร็วของการหมุนกะ ซึ่งเป็นระบบกะที่หมุนเวียนตารางเวลาของพนักงานตั้งแต่กะเช้าไปจนถึงกะเย็น ต่อเนื่องไปถึงกะกลางคืน จะมีการหมุนไปข้างหน้า ในขณะที่กะที่หมุนทวนเข็มนาฬิกา เช่น กลางคืนถึงเย็นถึงเช้า จะมีการหมุนเวียนย้อนกลับ โดยความเร็วของการหมุนระบบกะ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ

  1. ระบบกะแบบถาวร เช่น กะกลางคืนถาวร
  2. ระบบกะที่หมุนช้า ๆ เช่น หมุนทุกสัปดาห์
  3. ระบบกะที่หมุนเวียนอย่างรวดเร็ว เช่น พนักงานทำงานกะเช้าในวันจันทร์กะเย็น ในวันอังคารและวันพุธ

           ปัจจุบันธุรกิจที่มีการแบ่งกะทำงานมีมากมาย ได้แก่ สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฟิตเนส โรงพยาบาล สถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ โรงงานผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค และโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ ที่มีส่วนในการสร้างสังคมที่ดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง 

ข้อควรระวัง สำหรับคนทำงานเป็นกะ

           แม้ว่า Shift Work หรือการทำงานเป็นกะ จะมีข้อดีที่ช่วยให้ผู้ทำงานสามารถเลือกเวลาทำงานได้ และไม่ต้องใช้เวลานานมากเกินไปในการทำงาน แต่การทำงานเป็นกะก็มีผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในกะกลางคืน ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่ตรงกับนาฬิกาชีวิตและร่างกายที่เป็นธรรมชาติ เพราะโดยปกติช่วงเวลากลางวันจะต้องตื่นเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ และช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาของการพักผ่อน

              ดังนั้น การทำงานในกะกลางคืน จะมีผลต่อการกินไม่เป็นเวลา นอนไม่เป็นเวลา โดยเฉพาะคนที่ทำงานกะดึก ย่อมมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ทำให้ส่งผลต่อการทำงานโดยตรง ทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งผลกระทบในระยะสั้น จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ง่วงในเวลางาน ส่งผลทำให้สมรรถภาพในการทำงานลดลง และเสี่ยงต่อการทำงานผิดคลาด หรือเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้

 ในระยะยาว มีงานวิจัยที่เผยแพร่ออกมา พบว่า คนที่ทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่างมากกว่าคนอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สมรรถภาพของสมองเสื่อมลง มีอาการกล้ามเนื้อตาล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีความเครียด อ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่หลับ โรคอ้วน ฉะนั้นผู้ที่ทำงานกะกลางคืนจึงควรหันมาดูแลตัวเอง ใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น โดยควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยควรนอนหลับให้ครบ 8 ชั่วโมงต่อวัน
  2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ควรรับประทานอาหารในปริมาณมากและหนักจนเกินไป หรือควรรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ ในระดับที่ทำให้รู้สึกอิ่มอย่างพอดี และเน้นรับประทานมื้อเช้า
  3. ควรออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าในช่วงเวลางานได้
  4. การเปลี่ยนกะ ควรเปลี่ยนไปข้างหน้าเสมอ อย่าเปลี่ยนย้อนหลังหรือกลับไปกลับมา เพราะจะทำให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้า รู้สึกอดนอนมากขึ้น

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ที่มา: LINK

 625
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์