081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosofthrmi.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Business Flow
Organization
Personnel
Time Attendance
Payroll
Approve Center
Recruitment
Training
Welfare
Loan Management
Job Control
Management Information
Dashboard
Reports
Employee Self Service (ESS)
Multi Company
Human Capital Management (HCM)
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
Manual
System Requirements
New Feature HRMI
E-Newsletter
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
HR Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Award & Standard
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
News
HR Articles
People Employment
การทำ Performance Feedback แบบ Remote Work
การทำ Performance Feedback แบบ Remote Work
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
HR Articles
People Employment
การทำ Performance Feedback แบบ Remote Work
การทำ Performance Feedback แบบ Remote Work
ย้อนกลับ
การทำ performance coaching หรือ performance feedback เป็นกิจกรรมที่ผู้จัดการหลาย ๆ คนกังวลเสมอ เนื่องจากเป็นกระบวนการสื่อสารที่จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความขาดหวังของพนักงานตลอดเวลา การให้ feedback บางครั้งก็ต้องระมัดระวังเพราะอาจทำให้ทีมเสียขวัญกำลังใจได้ การให้คำแนะนำเพื่อพัฒนา หรือ constructive feedback นั้นเป็นการสร้างบทสนทนาที่ค่อนข้างใช้ได้ผลในการช่วย coaching พนักงานให้สามารถเข้าใจเป้าหมายในการทำงานได้มากขึ้น หรือหากจะยกตัวอย่างคือ กระบวนการติเพื่อก่อย่อมต้องยกตัวอย่างให้พนักงานเห็นด้วยเช่นกัน
Roy Baumeister และ John Tierney ผู้เขียนหนังสือ “The Power of Bad” อธิบายว่าการให้คำแนะนำเชิงลบ หรือ negative feedback นั้นส่งผลกระทบต่อมนุษย์มากกว่าเชิงบวก หรือที่เรามักเคยได้ยินว่า ข่าวร้ายบอกด้วยน้ำเสียงร่าเริงแค่ไหนก็ยังน่าเศร้าอยู่ดี พวกเขาอธิบายว่าสมองของคนเรานั้นมีความรู้สึกกับเรื่องเชิงลบมากกว่าแม้จะเป็นเรื่องเล็กแค่ใดก็ตาม ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการทางสมองนั้นเมื่อได้ยินข่าวร้ายจะทำให้อารมณ์ของเราถูกควบคุมด้วยความคิดเชิงลบทันที ยกตัวอย่างเช่น การได้กำไรจากการเล่นหุ้นส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของมนุษย์น้อยกว่าการขาดทุนจากการเล่นหุ้น พัฒนาการทางสมองของเราแบบนี้นั้นเกิดมาตั้งแต่สมัยยุคโบราณเลยทีเดียว มันอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่บรรพบุรุษของเราระแวดระวังภยันอันตรายที่อยู่รอบตัวเรา เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ให้อยู่รอด แต่สมองที่สืบต่อมายังยุคปัจจุบันนั้นถูกรายล้อมไปด้วยสื่อต่าง ๆ ที่ส่งเสียงทักทายเราตลอดเวลา เราได้ยินข่าวร้ายที่ไม่ได้อยากรับฟังบ่อยกว่าสมัยก่อน ดังนั้นหากเราเข้าใจกระบวนการทำงานของสมองเราอย่างเป็นเหตุเป็นผล การรับฟัง negative feedback ก็จะสามารถช่วยได้เราก้าวข้ามผ่านเรื่องนี้ได้
แต่เป็นช่วง Covid-19 นี้เองที่ทำให้กระแสความเครียดเข้าครอบงำคนทำงานทั่วโลก ผลการวิจัยพบว่าความเครียดสะสมยิ่งไปกระตุ้นให้สมองเราได้ยินอะไรก็เอนไปทางข่าวร้ายตลอด จนกระทั่งบางครั้งคำพูดที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรเช่น “โอเคงั้นเราไม่ต้องลงรายละเอียดกันแล้ว” กลับกลายเป็น “อยากทำอะไรก็ทำไปละกัน” แทน มันหยุดสมองเราให้คิดอะไรแบบนั้นขึ้นมาลำบากจริง ๆ ซ้ำร้ายยังจะต้องมาพูดคุยกันแบบระยะไกลอีก การจัดบรรยากาศเช่นสถานที่ หรือการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เรื่องที่ดูเครียดเบาลงก็ทำได้ยาก ในวันนี้จึงอยากนำข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Seattle ด้านการเรียนรู้อย่าง Dr. Therese Huston เจ้าของหนังสือ Let’s talk: Make Effective Feedback Your Superpower ดังต่อไปนี้
ใช้การเล่าเรื่องช่วย:
ก่อนที่จะเริ่มทำการประเมินผลงาน เราควรเริ่มต้นจากการให้พนักงานมีโอกาสเล่าเรื่องงานของตนเองก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยเสริมความคิดเห็นของเราเข้าไป สิ่งที่ผู้บังคับบัญชามักเจอคือ “ไม่รู้ว่าตัวเองทำงานได้ไม่ดี” (unaware underperform) การให้พนักงานเริ่มต้นเล่าจากมุมมองของตัวเองจะช่วยให้กระชับบทสนทนาเข้ามาในจุดที่ร่วมกันคิดได้
ใช้เทคนิค ชม แนะ ชม:
วิธีการนี้เป็นวิธีการที่นิยมเป็นอย่างมาก โดยจะเริ่มสร้างความรู้สึกร่วมก่อนโดยกล่าวคำพูดเชิงบวกก่อนที่จะเริ่มวิจารณ์ผลงาน หรือเรื่องอื่น ๆ ซึ่งหากไม่รู้จะชมเชยได้เรื่องอะไรเกี่ยวกับงาน ก็ให้ใช้การชมเชยเรื่องความพยายามในการทำงาน หรืออุปนิสัยที่ดีก็ได้เช่นกัน
ใช้เจตนาที่ดี: หลายครั้งที่เรามักชอบพูดไปเรื่อย ๆ จนลืมย้อนกลับมาว่า ทำไมเราถึงพูดประเด็นนี้ การประเมินผลก็เช่นกัน เวลาเราให้ feedback ไปเรื่อย ๆ เรามักจะลืมตัวว่าผู้ฟังจะเข้าใจวัตถุประสงค์หรือไม่ คำพูดบางคำเป็นคำที่ดี แต่เมื่อเอามาเอ่ยย้อนหลังมักจะฟังเป็นคำแก้ตัว เช่น “พี่อยู่ฝั่งเดียวกับเรานะ” แต่ที่พูดมาทั้งหมดมีแต่เรื่องติ หรือฟังแล้วรู้สึกเอียงเอนไปในเชิงลบเสียมากกว่า เหตุเพราะเราตั้งใจที่จะบอกเล่าเรื่องราวที่เราอยากให้ผู้ฟังพัฒนาและปรับปรุง แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า มนุษย์เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่ามีอคติต่อ feedback ในแง่ลบเสมอ ดังนั้นผู้บริหารโปรดอย่าลืมความสำคัญของข้อนี้ด้วย
พูดให้ชัด:
บางครั้งการยกตัวอย่างในระหว่างบทสนทนาก็เป็นเรื่องที่ทำให้เราสามารถสร้างความเข้าใจที่ตรงกันได้ง่ายกว่า เช่น “ที่พี่หมายถึงคือสีขาว ที่พี่ไม่ได้หมายถึงคือสีดำ” การสร้างความคลุมเครือระหว่างการสนทนานั้นอันตรายมาก หากเราต้องการหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม บางครั้งควรยกตัวอย่างการกระทำนั้น ๆ ขึ้นมา จะชัดเจนกว่าพูดให้ดูคลุมเครือว่าผู้พูดหมายถึงเหตุการณ์ใด เป็นต้น
ทวนถามความเข้าใจก่อนปิดการ feedback:
การสร้างพื้นที่ให้ผู้ฟังได้กลายเป็นคนสรุปเรื่องที่คุยกันในครั้งนี้ ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสปรับความเข้าใจกัน หากมีสิ่งใดที่ผิดไปจะได้ทำความเข้าใจร่วมกันก่อนที่จะปิดการ feedback นั่นเอง
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้
ที่นี่ คลิก!!
ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน
ที่มา :
Link
917
ผู้เข้าชม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com