ก่อนหน้านี้หากอยากดึงดูดผู้สมัครเก่ง ๆ จะต้องเขียน Job Descriptionให้น่าสนใจเพื่อให้คนเห็นว่าการทำงานที่นี่นั้นน่าสนุกและมีความท้าทายอย่างไรบ้าง แต่เมื่อใคร ๆ ก็เขียน Job Description กันทำให้ผู้สมัครต้องอ่านสิ่งเหล่านี้มากมายจนหลายครั้งก็แยกความแตกต่างของงานแต่ละที่ไม่ออก ดังนั้นหากต้องการดึงดูดพนักงานเก่ง ๆ ก็ต้องสร้างความแตกต่าง ยิ่งทุกวันนี้มีช่องทางในอินเทอร์เน็ตมากมายไม่ว่าจะเป็น Youtube, LinkedIn หรือเว็บไซต์ที่มีหน้า Company Page ที่สามารถลงวิดีโอเพื่อโปรโมตให้คนเห็นชีวิตการทำงานในหนึ่งวันว่า หากทำงานที่นี่จะเป็นอย่างไรบ้าง การลงวิดีโอเพียงแค่สั้น ๆ แต่จะทำให้คนเห็นรายละเอียดหลายอย่าง ไม่เพียงแต่จะได้รู้ว่างานที่ทำต้องทำอะไรบ้าง แต่ยังทำให้เห็นว่าถ้าอยากทำงานที่นี่จริง ๆ จะต้องเจอกับอะไรบ้าง วัฒนธรรมองค์กรและการทำงานเป็นอย่างไร ที่ทำงานเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่
พลังแห่งการบอกต่อนั้นกลายเป็นเรื่องสำคัญที่นักการตลาดทั้งหลายต่างหันมาให้ความสนใจเพราะเดี๋ยวนี้จะซื้อของที คนก็ต้องหาข้อมูลจาก Blogger เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งหลักการนี้ก็สามารถนำมาปรับใช้กับการทำ Employer Branding ได้เป็นอย่างดี ผู้คนจะให้ความสนใจกับข้อความที่เกี่ยวข้องกับบริษัทมากขึ้น
ลองให้พนักงานในบริษัทบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตการทำงานในบริษัท หรือสิ่งที่พนักงานชื่นชอบ รับรองว่าผู้คนจะสนใจมากขึ้นอย่างแน่นอน
อยากสื่อสารแบรนด์ให้คนอื่นรับรู้ ก็ต้องใช้พลังจากพนักงานของบริษัทให้ช่วยกันแชร์ต่อ เพราะว่าการที่ผู้คนจะมาตามข่าวสารของบริษัทอาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขนาดนั้น เพราะคนที่ตามช่องทางโซเชียลมีเดียของบริษัท อาจจะอยากรับรู้แค่เรื่องราวของผลิตภัณฑ์แต่ไม่ได้อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับตัวบริษัท ดังนั้นหากต้องการจะสื่อสารให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ก็สามารถให้พนักงานช่วยแชร์ทั้งวิดีโอและบทความที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยมีเทคนิคก็คือสร้างแฮชแท็กที่จะช่วยทำให้คนจดจำเกี่ยวกับแบรนด์ได้ดีมากขึ้น มากไปกว่านั้นการที่พนักงานช่วยกันแชร์ข่าวสารขององค์กรออกไป จะยิ่งเป็นการเพิ่ม Reach และ Engagement ได้มากขึ้นด้วย
ผู้คนต่างก็ต้องการทำงานกับผู้นำที่มีความคิด มีไอเดีย ยิ่งถ้าผู้บริหารมีอิทธิพลทางความคิดที่ดี จะยิ่งทำให้พนักงานอยากที่จะแบ่งปันเรื่องราวนี้ให้กับเพื่อนและคนรู้จักรับรู้ วิธีการง่าย ๆ นี้ก็คือลองให้ผู้บริหารออกมาให้สัมภาษณ์หรือเขียนอะไรเกี่ยวกับแนวทางการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นรายเดือนหรือไตรมาสก็ได้ เมื่อผู้คนศรัทธาในตัวผู้นำ พนักงานก็มีความเต็มใจในการทำงานและยังดึงดูดให้พนักงานที่ชื่นชอบในวิสัยทัศน์เข้ามาติดตามและมีส่วนร่วมกับองค์กรมากยิ่งขึ้น
ในช่วงแรก แนวคิดเรื่อง Employer Branding นั้นเป็นเพียงกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์หรือภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่รู้จักเท่านั้น แต่ในทุกวันนี้จะเห็นความแตกต่างขององค์กรที่ทำ Employer Branding ได้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อผู้สมัครรู้จักกับบริษัทมากขึ้น เข้าใจการทำงานขององค์กรมากขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้คนเก่ง ๆ เข้ามาทำงานมากขึ้น ดังนั้น Employer Branding จึงเป็นช่องทางเดียวที่จะช่วยให้การสรรหาคนกลายเป็นเรื่องง่าย
หากมองดูผิวเผินอาจจะเข้าใจว่า Employer Branding เป็นเหมือนการสื่อสารแบรนด์หรือภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่รับรู้เพียงอย่างเดียว แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ Employer Branding นั้นมีมากกว่าที่คิด เพียงแต่ต้องอาศัยความสม่ำและตั้งใจเท่านั้น
ที่มา : Link