• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • People Management

  • เลิกจ้าง เพราะโควิด จริงหรือเปล่า? คนทำงานควรรู้เรื่องนี้ จะได้ไม่เสียรู้ให้กับบริษัท

เลิกจ้าง เพราะโควิด จริงหรือเปล่า? คนทำงานควรรู้เรื่องนี้ จะได้ไม่เสียรู้ให้กับบริษัท

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • People Management

  • เลิกจ้าง เพราะโควิด จริงหรือเปล่า? คนทำงานควรรู้เรื่องนี้ จะได้ไม่เสียรู้ให้กับบริษัท

เลิกจ้าง เพราะโควิด จริงหรือเปล่า? คนทำงานควรรู้เรื่องนี้ จะได้ไม่เสียรู้ให้กับบริษัท


เลิกจ้าง เพราะโควิด จริงหรือเปล่า?
 หรือ เลิกจ้าง เพราะพิษเศรษฐกิจ?
 

คือ เหตุผลของการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่? เรามาหาคำตอบกันกับบทความเรื่องกฎหมายแรงงานในตอนนี้กัน

ช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 เป็นต้นมา ข่าวคราวการปลดพนักงาน หรือแม้กระทั่งเรื่องของการลดค่าจ้างเกิดขึ้นอย่างมากมาย กรณีเลิกจ้างที่เกิดขึ้นมากมายเช่นนี้ ส่วนนึงก็เป็นผลมาจากพิษเศรษฐกิจ อันเนืองมาจากสถานการณ์โควิด ที่ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ หลายรายจำเป็นต้องปิดกิจการ แต่หลายรายก็สบโอกาส เอาเรื่องโควิดมาเป็นเหตุในการปลดพนักงานเช่นกัน

การปลดพนักงาน หรือ การเลิกจ้าง บริษัทสามารถทำได้ไหม? ผิดกฎหมายไหม?

บริษัทสามารถปลดพนักงานได้เสมอ ปลดได้ไม่จำกัดอีกด้วย แต่การปลดพนักงาน หรือ การเลิกจ้างพนักงาน จะต้องทำในแบบที่ถูกต้อง ทำตามกฏหมาย ก็ถือว่าเป็นสิ่งอันชอบธรรม เข้าใจได้ เพราะบริษัทก็ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก และ ส่วนพนักงานจะเลิกจ้างเขาก็ควรให้เขาได้ในสิ่งที่เขาสมควรได้ด้วย

แต่ปรากฏว่า มีหลายเคส ที่บริษัทฉวยโอกาสใช้สถานการณ์โควิด เอาเปรียบพนักงาน ด้วยการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม !!!!

“ผู้บริหารชิงเอาเปรียบพนักงานที่ไม่รู้เรื่องกฏหมาย ใช้สถานการณ์โควิด บีบให้พนักงานต้องรับสภาพ”

กรณีที่ 1 บริษัทแรก บอกว่าเพราะโควิด จำเป็นต้องปลดพนักงาน หรือ เลิกจ้าง ออกจำนวนนึง โดยมีการจ่ายค่าชดเชยให้เป็นเงินเดือนล่วงหน้า 1 เดือน บวกพิเศษอีก 2 เดือน รวมเป็น 3 เดือน โดยแลกกับให้พนักงานเซ็นลาออกเอง

แต่ยังไม่พอ พนักงานที่โดนบีบให้ออกจะต้อง เซ็นยินยอมว่า “พอใจในเงินชดเชยที่ได้ โดยไม่ติดใจเรียกร้องสิทธิ และประโยชน์ใดๆ หรือฟ้องร้องเอาความใดๆ กับบริษัทอีก”

ผู้บริหารบีบพนักงานกลุ่มที่จะให้ออกว่า หากไม่เซ็น ก็จะให้ออกโดนไม่ได้เงินจำนวนนี้ พนักงานทั้งหมดจึงต้องทำใจ จำใจเซ็นไป เพราะยังไงก็ไม่ได้ทำงานต่อ อย่างน้อยได้เงินสักนิดก็ยังดี

แบบนี้ มันเหมือนถูกกระทำ จำใจต้องยอม (เพราะกลัวว่า หากดื้อดึง อาจจะไม่ได้เงิน)

กรณีที่ 2 บริษัทที่สอง ผู้บริหารเข้ามาใหม่ เริ่มงานได้ไม่กี่เดือน ก็อ้างเหตุปลดพนักงานหรือ เลิกจ้าง จำนวนนึงในหน่วยงานของตนเอง อ้างว่าผลงานไม่เข้าตา และ จำเป็นต้องปรับโครงสร้าง จึงต้องให้ออก

แต่ด้วยความที่อาจจะไม่อยากจ่ายค่าเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก ก็หาเหตุมากล่าวหาพนักงานกลุ่มที่จะให้ออกว่ามีพฤติกรรมที่ฉ้อฉล ทำงานไม่เต็มที่ เอาเรื่องการขาดลา มาสาย และ เรื่องวินัย มาเป็นประเด็น บีบให้ออก

ในที่สุดพนักงานส่วนใหญ่ ก็ทนกับสภาพที่ถูกจับผิด และ ไม่สามารถทนต่อความกดดันต่อไปไม่ไหว จึงจำใจต้องลาออก

แต่ไม่จบแค่นั้น ผู้บริหารใหม่ท่านนี้ ยังบังคับให้พนักงานที่จะออกให้เซ็นลาออกโดยมีเงื่อนไขว่า “ห้ามไปให้ข้อมูลไม่ดีเกี่ยวกับบริษัท และ ห้ามไปฟ้องร้องบริษัท มิฉะนั้นทางบริษัทจะเอาเรื่องพฤติกรรมของพนักงานไปเปิดเผยให้บริษัทอื่นๆ รับทราบ”

ยังๆ ยังไม่จบแค่นั้น หลังจากที่ผู้บริหารอ้างว่าปรับโครงสร้างองค์กร ไม่นานหลังจากที่พนักงานเก่าได้ออกไป ผู้บริหารท่านนี้ ก็ยกทีมงานของตนเองจากที่เก่าเข้ามาแทนที่

แบบนี้ มันถูกต้องไหม? ปัญหาคือ การเลิกจ้างพนักงานแบบนี้ ทำถูกต้องไหม?

ทั้งสองบริษัท ใช้ประเด็นกฏหมาย หรือ กฎกติกา ในเรื่องที่พนักงานอาจจะไม่มีความรู้ หรือ ไม่แม่นยำเรื่องกฏหมายแรงงาน แน่นอนพวกเขารู้ เขาจึงใช้เรื่องเหล่านี้ เป็นช่องทางเพื่อเอาเปรียบพนักงาน

ทั้งสองกรณี มีประเด็นที่คล้ายๆ กันคือ เรื่องที่บริษัท “ให้เซ็นยินยอมว่าจะไม่ติดใจเรียกร้องสิทธิ และประโยชน์ใดๆ หรือฟ้องร้องเอาความใดๆ กับบริษัทอีก”

หากพนักงานได้เซ็นไปแล้ว จะทำอย่างไรได้?

ถึงแม้พนักงานจะได้เซ็นไปแล้ว ด้วยเพราะความไม่รู้ หรือ ด้วยเพราะโดนข่มขู่ เรื่องเงิน หรือ เรื่องอะไรก็แล้วแต่ พนักงานที่ถูกเลิกจ้างก็ยังสามารถไปฟ้องบริษัทคู่กรณีได้ ว่าเลิกจ้างพวกเขาโดยไม่เป็นธรรมได้

อ้างถึง กรณีศึกษาจาก เพจ กฎหมายแรงงาน ซึ่งมีกล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า

“นายจ้างก็อ้างว่าจะฟ้องได้อย่างไร ในเมื่อลูกจ้างลงนามในหนังสือดังกล่าวไปแล้ว”

จึงมีปัญหาว่าการเซ็นและเขียนข้อความนี้ เท่ากับลูกจ้างยินยอมไม่ติดใจเรียกร้องหรือไม่?

ซึ่งในเรื่องนี้ ศาลได้วินิจฉัยเอาไว้ว่า ลูกจ้าง หรือ อดีตพนักงาน เพียงแค่ “รับทราบคำสั่งและลงชื่อไว้เท่านั้น” ดังนั้นจะถือว่า “ลูกจ้างยินยอมไม่เรียกร้องไม่ได้ และ ไม่ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

จึงเท่ากับว่า ลูกจ้างสามารถ ฟ้องร้อง เรียกค่าเสียหายจากคดี เลิกจ้าง ไม่เป็นธรรมได้อีก (คดีนี้ลูกจ้างก็ชนะในส่วนคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม)

ส่วนในกรณีที่ หาเหตุผลที่มาใช้บีบให้ลูกจ้างลาออก

เรื่องนี้ ก็เป็นอีกประเด็น เพราะ การอ้างเรื่องปรับโครงสร้างองค์กร แล้วเป็นเหตุให้ต้องปลดพนักงาน แต่ปรากฏว่าไม่ได้ทำแบบนั้นจริง พอปลดพนักงานออกก็มีการรับพนักงานใหม่เข้ามาทำในตำแหน่งเดิม แบบนี้ก็ถือว่า เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หรือ แม้กระทั่งการขู่พนักงาน ก็ถือว่ามีความผิด เช่นกัน

เรื่องเหล่านี้ พนักงานที่โดนเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สามารถติดต่อศาลแรงงานพื้นที่เพื่อปรึกษาหารือ และ ทำเรื่องฟ้องร้องเรียกร้องความเป็นธรรมจากบริษัทได้เลย

อย่ากลัวว่าจะต้องขึ้นศาล หากเราทำไป เพื่อเรียกร้องสิ่งที่ถูกต้อง

อย่าปล่อยให้คนไม่ดี ได้มีที่ยืน และหาเหตุเอาเปรียบคนทำงานอย่างเราหรือคนอื่นๆ ได้”

เราควรใช้กฏหมายจัดการคนเหล่านี้ซะบ้าง ให้เขารู้บ้างว่า ความถูกต้องมันมีจริง และ เราก็ต้องได้ในสิ่งที่เราควรได้


ที่มา : เพจ กฎหมายแรงงาน

 1626
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์