ถูกเลิกจ้าง และ ให้ออกจากงานแบบกระทันหัน ต้องทำอย่างไรดี?

ถูกเลิกจ้าง และ ให้ออกจากงานแบบกระทันหัน ต้องทำอย่างไรดี?



ถูกเลิกจ้าง ต้องตกงาน หรือ ออกจากงานกระทันหัน เหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นกันได้กับทุกคน ไม่ว่าเราจะทำงานดีหรือไม่ดีก็ตาม แล้วเราจะรับมืออย่างไร?

โดยเฉพาะในช่วงนี้ ช่วงที่หลายๆ ธุรกิจเริ่มที่จะไปต่อไม่ไหว ผลที่ตามมาก็คือ จำเป็นต้องปลดพนักงาน หากเราโชคไม่ดี ต้องกลายเป็นคนที่ต้องตกงานกระทันหัน เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะต้องหาทางรับมือกับสถานการณ์นี้ให้ได้

เมื่อถูกเลิกจ้าง และให้ออกจากงานแบบกระทันหัน สิ่งที่ต้องเตรียมตัวและต้องพิจารณาทันที มีดังต่อไปนี้

เรื่องเงินชดเชย

หากเข้าเกณฑ์เป็นการเลิกจ้าง : ถ้าการเลิกจ้าง เกิดขึ้น โดยเราไม่ได้ลาออกเอง ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินใจของนายจ้าง โดยเราไม่ได้ทำผิด หรือ มีปัญหากับบริษัทต้นสังกัด ดังนี้

  1. ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  3. ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง
  4. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  5. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  7. ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

เราก็ย่อมมีสิทธิ์ตามกฎหมาย ที่จะได้รับค่าชดเชยตามที่กฏหมายกำหนดเอาไว้ ตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้

  • ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
  • ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
  • ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
  • ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน
  • ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10ปี ขึ้นไป แต่ไม่ครบ 20 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน
  • ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 20ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 400 วัน

ถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย หรือ ค่าบอกกล่าล่วงหน้า ก็เข้าข่าย“การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม”

กฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนดำเนินการใด ๆ ไว้ ลูกจ้างจึงสามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้ทันทีเมื่อถูกเลิกจ้าง อายุความของคดีแรงงาน มีอายุความ 10 ปี (ใครอยากไปฟ้องบริษัท ถ้าเหตุเกิด ยังไม่เกิน 10 ปี รีบไปดำเนินการเลยนะครับ)

เรื่องหนังสือรับรองการทำงาน

เมื่อเรา ซึ่งเป็นพนักงาน พ้นสภาพการทำงานไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไร ก็ตาม จะออกแบบสวย หรือ ไม่สวย นายจ้าง (หรือบริษัท) ก็ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้พนักงานทุกกรณี ไม่งั้นจะเข้าข่ายมีความผิดได้

ขออ้างประมวลกฎหมายแพ่ง (ปพพ.) มาตรา 585 พื่อจะได้เข้าใจหลักการที่ถูกต้องดังนี้นะครับ

ปพพ.มาตรา 585 กล่าวเอาไว้ว่า “เมื่อการจ้างแรงงานสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร และงานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร”

นี่จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้องว่า บริษัทจะต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้กับพนักงานที่พ้นสภาพทุกกรณี ไม่ว่าพนักงานจะลาออกเอง (โดยถูกต้องตามกฎระเบียบของบริษัทหรือไม่ก็ตาม) หรือถูกบริษัทเลิกจ้าง (ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ) หรือออกจากบริษัทไปด้วยสาเหตุใดก็ตาม

ซึ่งในหนังสือรับรองการทำงานก็ให้บริษัทระบุเพียงเรื่องหลัก ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้เช่น พนักงานเข้าทำงานกับบริษัทเมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่ ทำงานในตำแหน่งงานอะไร หน่วยงานไหน เป็นต้น

เรื่องสิทธิประโยชน์ที่เหลืออยู่กับนายจ้าง

สิทธิประโยชน์ อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ค้างเบิก หรือ รอการชำระ ค่าล่วงเวลา หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี) หรือ อื่นๆ

ถึงแม้เราจะหมดสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว แต่เราก็ต้องทำการตกลง และเคลียร์กับนายจ้างให้เป็นที่เรียบร้อยในเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ เสียก่อน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียสิทธิ์​ หรือ ถ้านายจ้างจงใจจะไม่ให้ (แต่เป็นสิทธิอันชอบธรรมของลูกจ้างที่จะต้องได้) ลูกจ้างก็สามารถไปฟ้องเรียกค่าความเสียหายในส่วนที่นายจ้างไม่ให้ ได้ที่ศาลแรงงาน

เรื่องสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน (กองทุนประกันสังคม)<

นอกเหนือจากเงินชดเชยที่บริษัทฯ ในฐานะนายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชยการว่างงานจากและสิทธิประโยชน์อื่น จาก สำนักงานประกันสังคมอีกด้วย (หากลูกจ้างได้มีการทำประกันสังคมเอาไว้)

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิ ก็คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย

กรณี ถูกเลิกจ้าง
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

กรณี ลาออกเอง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

ทั้งนี้ลูกจ้างต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น เพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมในบางอย่าง เช่น มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้ และ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน และ ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม : หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิประกันสังคม

การตกงาน อาจจะเป็นเหตุการณ์ ที่เราเองก็ไม่ได้ต้องการให้มันเกิดขึ้น
แต่เมื่อมันเกิดขึ้นกับเราแล้ว เราก็ต้องรักษาผลประโยชน์ที่เราควรได้เอาไว้ด้วย

เพราะหลายๆ กรณีที่มีการ ถูกเลิกจ้าง และให้ออกจากงานแบบกระทันหัน บริษัทฉกฉวยโอกาส เอาเปรียบพนักงาน ด้วยความที่พนักงานไม่มีความรู้ในเรื่องกฏหมาย หรือ สิทธิที่พวกเขาจะต้องได้ จากการถูกเลิกจ้าง ทำให้พนักงานหลายคน โดนให้ออก โดยอาจจะไม่ได้อะไรชดเชยเลย

ในขณะเดียวกัน ก็อย่าเพิ่งท้อแท้ เพราะการตกงานครั้งนี้ อาจจะทำให้เราค้นพบทางเดินเส้นใหม่ หรือ งานที่ดีกว่าเดิมก็ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม:

เรื่องของอายุความ สำหรับ กรณี “การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม” กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความฟ้องร้องคดีไว้โดยเฉพาะ ระยะเวลาในการฟ้องร้องคดีจึงเป็นไปตามกำหนดอายุความในทางแพ่งซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 กำหนดให้มีอายุความฟ้องร้องคดี 10 ปี นับแต่วันที่เกิดสิทธิเรียกร้อง รายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/2iZ4A4d

เรื่องของหนังสือรับรองการทำงาน กรณี “ถูกเลิกจ้าง” รายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/2eGCkCk

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



ที่มา : thepractical.co

 3677
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์