เดือนกุมภาพันธ์ จะจ่ายเงินเดือนอย่างไร เมื่อมีพนักงานมาเริ่มงานใหม่?
HR บางคนบอกว่า นับวันเริ่มงานจนถึงวันที่ 28 , HR บางคนบอก นับวันเริ่มงานจนถึงวันที่ 30 (แต่กุมภาพันธ์ปีนี้มี 28 วันนะ) HR โดยทั่วไปแล้วจะคำนวณ 30 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 68 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ลองไปหาอ่านดูนะ)
แล้วก็มี HR หลายๆ คน โดยเฉพาะ HR Payroll มือใหม่ก็ตีความเรื่องนี้ผิดและคำนวณผิดมาเยอะพอสมควร ใครที่เข้าใจหลักการตามมาตรา 68 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จะตอบทันทีเลยว่า “ไม่ถูกต้อง” เพราะในเรื่องการคำนวณผลประโยชน์ของลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือผลประโยชน์อื่นใดของลูกจ้าง ต้องใช้ 30 วันเป็นฐานในการคิดคำนวณสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนในระบบค่าจ้างรายเดือน
ซึ่งในแต่ละเดือน หากจะคำนวณโดยอิงตามปฏิทินนับตามจำนวนวันทำงานจะไม่เท่ากันทันที เพราะจะผันแปรไปตามจำนวนวันในปฏิทิน ซึ่งเกิดความสับสนกันตลอด
วิธีการแก้ไขปัญหาในการคิดคำนวณค่าจ้างที่ไม่เต็มเดือนซึ่งมักจะเกิดกับกรณีการจ้างงานใหม่ โดยไม่คิดคำนวณจากวันทำงานที่เหลือในแต่ละเดือน แต่ใช้การคิดคำนวณจากการ “หักค่าจ้างในวันที่ยังไม่ได้ทำงาน” ออกไปแทน ซึ่งจะช่วยทำให้การคิดคำนวณค่าจ้างพนักงานใหม่ไม่ผันแปรไปตามจำนวนวันในปฏิทิน และคิดคำนวณได้เป็นมาตรฐานสอดคล้องกับมาตรา 68 อีกด้วย
ตัวอย่าง
เริ่มงานวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ไม่มีวันที่ไม่ได้ทำงาน จ่ายค่าจ้างเต็มเดือนตามฐานค่าจ้างที่กฎหมายกำหนด
เริ่มงานวันที่ 2 กุมภาพันธ์ หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 1 วัน (1 กุมภาพันธ์) จ่ายค่าจ้าง 29 วัน
เริ่มงานวันที่ 3 กุมภาพันธ์ หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 2 วัน (1 – 2 กุมภาพันธ์) จ่ายค่าจ้าง 28 วัน
เริ่มงานวันที่ 16 กุมภาพันธ์ หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 15 วัน (1-15 กุมภาพันธ์) จ่ายค่าจ้าง 15 วัน
เริ่มงานวันที่ 25 มีนาคม หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 24 วัน (1-24 มีนาคม) จ่ายค่าจ้าง 6 วัน
จะเห็นว่า วิธีการที่นี้จะมีจุดเริ่มต้นการคำนวณเดียวกันคือ “วันที่ 1 ของเดือน” และมีจุดสิ้นสุดเดียวกัน “เดือนละ 30 วัน” เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการคิดคำนวณค่าจ้างตามมาตรา 68 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ที่มา https://www.facebook.com/105577534122729/posts/449782446368901/?d=n
#เพจ_ความรู้_HR