• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • People Employment

  • เป็นไปได้หรือไม่ ที่บริษัทจะหักเงินเดือนของพนักที่ชอบมาทํางานสายเป็นประจำ?

เป็นไปได้หรือไม่ ที่บริษัทจะหักเงินเดือนของพนักที่ชอบมาทํางานสายเป็นประจำ?

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • People Employment

  • เป็นไปได้หรือไม่ ที่บริษัทจะหักเงินเดือนของพนักที่ชอบมาทํางานสายเป็นประจำ?

เป็นไปได้หรือไม่ ที่บริษัทจะหักเงินเดือนของพนักที่ชอบมาทํางานสายเป็นประจำ?

ปัญหาการมาสาย เป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครต้องเคยพบเจอทั้ง ไปทำงานสาย เข้าประชุมสาย ซึ่งสาเหตุของการสายอาจจะมีมากมาย ตื่นสาย ฝนตก รถติด เกิดอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางไปทำงาน และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดการณ์ไว้ก่อนได้เลย ซึ่งในการทำงานเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจกันได้ หากคนที่สายมีการบอกแจ้งแก่ HR ก่อน

แต่พนักงานบางคนอาจจะไม่เคยเคยบอกล่วงหน้าและชอบมาสายเป็นประจำ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้เป็นประจำ แน่นอนว่าผลประกอบการและประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลงตามไปด้วย ทางบริษัทและ HR ก็ต้องออกมาตรการมารองรับปัญหานี้ ซึ่งส่วนใหญ่คงจะคิดถึงเรื่อง การหักเงิน หากมีการมาสายเป็นประจำ แล้วในทางกฏหมาย เป็นไปได้หรือไม่ที่จะหักเงินเดือนเพื่อการจัดการกับพนักงานที่ชอบมาสาย?

ในทางกฎหมาย เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะหักเงินเดือนเนื่องจากการมาสาย ?

เมื่อพนักงานคนใดคนหนึ่งมาสายเป็นประจำ ทางบริษัทก็ต้องมีวิธีการรับมือแก้ไขปัญหาการมาสายของพนักงานคนนั้น ซึ่งวิธีการที่ง่ายและสามารถกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานให้กลับมาได้นั้นก็คือการหักเงิน แต่ในทางกฏหมายล่ะ ว่าอย่างไร

ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 76 ได้กล่าวไว้ว่า

มาตรา ๗๖  ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ

(๑)  ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้

(๒)  ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน

(๓)  ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง

(๔)  เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

(๕)  เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสมการหักตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา ๗๐ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

กล่าวง่ายๆคือ “บริษัทไม่สามารถลงโทษพนักงานที่มาทำงานสายโดยการหักเงินเดือนได้”

จะทำได้เฉพาะที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น เช่น หักเพื่อชำระภาษีเงินได้ ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานฯ ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ เป็นเงินประกัน เงินสะสมตามข้อตกลง โดยที่พนักงานให้การตกลงยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

แนวทางที่จะช่วยให้พนักงานไม่มาทํางานสาย

เมื่อทางกฏหมายระบุไว้แล้วว่า การมาสาย ไม่ใช่เหตุผลในการหักเงินเดือนได้ แล้วบริษัทต้องทำอย่างไร ถ้าพนักงานยังคงสายเหมือนเดิม หรือหนักสุดคือไม่มาทำงานเลย 1 วันโดยไม่บอกเหตุผลล่วงหน้า ซึ่งการกระทำแบบนี้ไม่ส่งผลดีกับทางบริษัทแน่นอน ดังนั้นเราจะแนะนำวิธีการที่จะช่วยให้พนักงานไม่มาทํางานสาย ดังนี้

มีการกำหนดกฎระเบียบเป็นมาตรฐานให้ชัดเจน

ฝ่าย HR ควรพูดคุย ทำความเข้าใจกับพนักงานว่าบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องการมาสายอย่างไร พูดคุยกับพนักงานให้รับรู้ เข้าใจตั้งแต่แรก สร้างข้อตกลงหรือกฏระเบียบขึ้นมา โดยอาจจะทำเป็นขั้นตอน เช่น เมื่อพนักงานมาสาย

ขั้นแรก มีการตักเตือน อาจจะเป็นการตักเตือนด้วยวาจา

ขั้นที่สอง มีการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร มีการระบุเรื่องการตัดเงินรางวัล โบนัส การพักงาน หรือโทษอื่นๆ

ขั้นที่สาม มีการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร มีการ ตัดเงินรางวัล โทษอื่นๆ

ขั้นที่สี่ มีการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร งดการขึ้นเงินเดือนประจำปีและโบนัสประจำปี

ขั้นที่ห้า ให้พ้นสภาพพนักงาน

นอกจากนี้ ควรกำหนดเกณฑ์การตัดสินการมาสาย เช่น

พนักงานมาทำงานสายตั้งแต่ 1 – 15 นาที นับเป็น 15 นาที สายตั้งแต่ 16 – 30 นาที นับเป็น 30 นาที สายตั้งแต่ 31 – 60 นาที นับเป็น 1 ชั่วโมง เป็นต้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการกำหนดกฎระเบียบ ควรมีการกำหนดให้เหมาะสมกับแต่ละบริษัท เพื่อผลดีต่อทั้งบริษัทและพนักงาน

พูดคุยกับพนักงาน

นอกจากกำหนดกฎระเบียบแล้ว เมื่อพนักงานมาสายเป็นประจำ สิ่งที่ฝ่าย HR ควรทำอีกอย่างคือ พูดคุยกับพนักงานคนนั้นถึงสาเหตุของการมาสาย และก่อนการพูดคุย HR ควรมีการเตรียมหลักฐานที่บ่งบอกว่าเขามาสายประจำไว้ด้วย

ในการพูดคุยก็ถามถึงสาเหตุว่าทำไมเขาถึงมาสายเป็นประจำจากนั้นประเมินว่าสาเหตุที่เขาให้มานั้นน่าเชื่อถือมากน้อยเท่าไหร่หรือเป็นเพียงข้อแก้ตัว หากสาเหตุนั้นเป็นเหตุที่สมควรจริงๆ เช่น คนในครอบครัวของพนักงานเข้าโรงพยาบาลแล้วมีแค่พนักงานคนนั้นคนเดียวที่ดูแลได้ HR อาจจะต้องมีการพูดคุยตกลงกันกับพนักงานคนนั้นเป็นพิเศษ

ไม่ควรแสดงอคติต่อพนักงานที่มาสาย พนักงานบางคนอาจไม่บอกเหตุผลที่แท้จริงว่าทําไมมาสาย ในการพูดคุยกับพนักงานอาจจะมีการชื่นชม คุณทํางานดีมาตลอด แต่ช่วงนี้ทําไมถึงมาทํางานสาย และอาจจะมีการสอบถาม เช่น มีอะไรให้ช่วยไหม หรือมีเรื่องไม่สบายใจรึเปล่า ถ้าเราสร้างความเชื่อใจให้พนักงานได้ พวกเขาก็จะสบายใจมากขึ้นที่จะบอกปัญหาที่แท้จริงกับคุณ

จัดอีเวนท์กระชับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน

จัดกิจกรรมเพื่อให้พนักงานได้มีการกระชับความสัมพันธ์ นอกจากจะทำให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วยังทำให้พนักงานมีความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน หากมีการมาสายพวกเขาก็จะมีการตักเตือนกัน และมีความเกรงใจคนในทีม

หัวหน้าควรเป็นตัวอย่างที่ควรมาเช้าด้วยเช่นกัน

ถ้าหัวหน้ามาสายพนักงานก็จะคิดว่ามาสายได้เช่นกันเพราะหัวหน้าก็สาย ดังนั้นต้องมีการสร้างตัวอย่างที่ดีให้แก่พนักงาน เริ่มจากหัวหน้าของทีม รวมไปถึงผู้บริหารควรมาทํางานเช้าหรือตรงเวลาเพื่อเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎระเบียบ และเพื่อความเท่าเทียมกันของทุกคน

สร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้แก่พนักงาน

การให้ข้อเสนอที่น่าสนใจ จะช่วยกระตุ้นแรงจูงใจให้พนักงานมาทำงานให้ทันเวลาได้ และยังทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

ซึ่งก็มีหลายวิธีในการจะเพิ่มแรงจูงใจ ดังนี้

– ถ้าพนักงานคนนั้นมาสายบ่อยแต่ก็มีเหตุผลสมควรพอ ทางบริษัทหรือ HR อาจจะให้ข้อเสนอยืดหยุ่นเวลาเข้า-ออกงานแก่พนักงาน โดยแต่เดิมบริษัทอาจจะเข้างาน 8:30 น. เลิก 17:00 น. แต่สำหรับพนักงานคนนั้นอาจให้เข้างาน 9:00 น. เลิก 18:00 น. เป็นต้น

– อาจมีการให้พนักงานที่มาทำงานสาย ทำชดเชยเวลา เช่น มาสายไปสามสิบนาที ก็ให้ทำงานชดเชยเวลาไปอีกสามสิบนาที

– มีการกำหนดรางวัลให้กับพนักงานที่ไม่เคยมาทำงานสายและเป็นแรงจูงใจให้กับพนักงานที่ชอบมาสาย ให้พวกเขาอยากมาให้ทันเวลาเข้างานมากขึ้น เช่น เพิ่มเบี้ยขยัน ถ้าในเดือนนั้นๆไม่เคยมาทำงานสายเลย เป็นต้น

เมื่อพนักงานมีแรงจูงใจและแรงบันดาลใจในการทำงาน พวกเขาจะรู้สึกสนุกกับงาน ทำให้อยากมาทำงานให้ทันเวลาและทำผลงานที่ดีให้กับบริษัท

สรุป

การแก้ปัญหาพนักงานมาสาย นอกจากจะแก้ที่ตัวของพนักงานแล้ว ฝ่าย HR เองก็สามารถช่วยได้ด้วยการสร้างบรรยากาศของออฟฟิศที่พนักงานจะสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ให้กำลังใจหรือคำแนะนำในเวลาที่พนักงานมีปัญหาที่อาจจะกระทบต่อการมาทำงานของพวกเขา เพื่อให้พนักงานรู้สึกสบายใจและทำงานไดด้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ที่มา : moneyhub.in.th

 712
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์