1.ทำให้มอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของพนักงานได้
การประเมินผลงานที่มีความถูกต้องจะนำไปสู่การจัดการที่ดีได้ เมื่อเราเห็นศักยภาพ หรือแม้กระทั่งจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละคนแล้วจะทำให้สามารถมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถรวมถึงศักยภาพของแต่ละคนได้ ซึ่งนั่นเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของบริษัทด้วย
2.สร้างแรงจูงใจในการทำงาน
การประเมินผลพนักงานที่สมเหตุสมผล ถูกต้อง เที่ยงตรง และยุติธรรม จะทำให้พนักงานเข้าใจศักภาพของตัวเอง เข้าใจสถานะของธุรกิจ เกิดการพัฒนาในการทำงาน วางแผนการทำงานไปให้ถูกทิศทางได้มากขึ้น หรือปรับเปลี่ยนการทำงานให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น อีกด้านหนึ่งผลประเมินที่ดีย่อมส่งผลต่อการปรับเงินเดือนหรือโบนัส นั่นเป็นอีกแรงจูงใจสำคัญที่จะทำให้พนักงานพัฒนาศักยภาพของตัวเอง และมุ่งทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ท้ายที่สุดแล้วทุกคนทุกฝ่ายต่างก็สำเร็จร่วมกัน
3.สร้างความภูมิใจ และได้รับการยอมรับ
ผลประเมินที่ดีจะทำให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จของตน ช่วยเพิ่มความมั่นใจและมุ่งมั่นในการทำงานได้อีกด้วย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การมีผลงานที่ดียังทำให้เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น ได้รับความไว้วางใจในการทำงาน และอาจทำให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งทำให้พนักงานตั้งเป้าหมายความสำเร็จที่สูงกว่าเก่า เป็นแรงจูงใจในการทำงานที่ดี
4.ปรับโครงสร้าง ค่านิยม แนวทางขององค์กร
การประเมินผลการทำให้นอกจากจะสามารถทำให้รู้ได้ว่าการทำงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จหรือไม่ ทำให้องค์กรเดินไปตามแนวทางที่ถูกทิศหรือเปล่า ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือยัง หรือแม้แต่เป้าหมายที่วางไว้ทุกอย่างนั้นแท้จริงแล้วถูกต้องแล้วหรือยัง นอกจากจะนำมาปรับปรุงพัฒนาแล้ว บางครั้งผลการประเมินอาจทำให้เราพบว่าเดินทางมาผิด ต้องสร้างเป้าหมายใหม่ กำหนดแนวทางใหม่ หรือแม้แต่การต้องปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เช่นกัน
ระบบประเมินผลพนักงานนั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) อย่างยิ่ง นอกจากจะใช้ประเมินความสามารถตลอดจนศักยภาพของพนักงานแล้ว การประเมินผลนี้ยังถือเป็นแรงจูงใจสำคัญของการทำงานเลยทีเดียว รวมถึงมีผลต่อการประเมินการตอบแทนจากบริษัท ตั้งแต่เงินเดือน ไปจนถึงโบนัส ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นแรงกระตุ้นชั้นดีที่จะทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดต้องประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา เที่ยงตรง ถูกต้อง ชัดเจน และไม่อคติ เพื่อเกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่ายด้วย
อ่านบทความการประเมินผลการปฎิบัติงานสำคัญกับองค์กรอย่างไร คลิกที่นี่!!
ที่มา : th.hrnote.asia