เงินชดเชยเลิกจ้างแบบไหนที่ไม่ต้องเสียภาษี?

เงินชดเชยเลิกจ้างแบบไหนที่ไม่ต้องเสียภาษี?



หากคุณบังเอิญเป็นหนึ่งในคนโชคร้ายที่ต้องถูกบริษัทเลิกจ้าง หรือบริษัทไม่ต่อสัญญาจ้าง จะด้วยพิษเศรษฐกิจหรือพิษโควิด-19 ก็ตามที อย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปนะคะ ก่อนอื่นให้ตั้งสติเอาไว้ก่อน และไม่ต้องกลัวไป เพราะไม่ได้มีคุณเพียงคนเดียวที่ต้องตกอยู่ในกับสถานการณ์เช่นนี้ มาเตรียมตัววางแผนจัดการกับชีวิตหลังจากต้องออกจากงาน และที่สำคัญวางแผนการจัดการ เงินชดเชยจากการเลิกจ้างว่าคุณต้องเสียภาษีอย่างไร ดีกว่าค่ะ


สิ่งแรกเลยที่หนุ่มสาวชาวออฟฟิศ มนุษย์เงินเดือน พนักงานเงินเดือน ที่ถูกเลิกจ้างควรทำ หลังจากตั้งสติได้แล้ว มีด้วยกันดังต่อไปนี้

1. ตรวจสอบระยะเวลาที่คุณทำงานกับบริษัทกี่ปี? กี่เดือน?

           เพราะการจ่ายเงินชดเชยเลิกจ้างนั้นจะคำนวณจาก ระยะเวลาในการทำงานของคุณค่ะ ยิ่งอายุงานมาก ค่าชดเชยก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นไปด้วย โดยแบ่งเป็นดังนี้

ระยะเวลาการทำงาน อัตราจ่ายเงินชดเชย
ไม่เกิน 120 วัน ไม่ได้รับเงินชดเชย
ตั้งแต่ 120 วัน – 1 ปี ได้รับเงินชดเชย 30 วัน
ตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้รับเงินชดเชย 90 วัน
ตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี ได้รับเงินชดเชย 180 วัน
ตั้งแต่ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน
ตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปี ได้รับเงินชดเชย 300 วัน

           สำหรับคนที่ถูกเลิกจ้างที่อายุงานไม่เกิน 120 วัน และไม่ได้รับเงินชดเชย เงินเดือนและค่าแรงจากบริษัท ก็ไม่ต้องเสียใจไปนะคะ คุณสามารถไปยื่นขอรับเงินชดเชยจากสำนักงานประกันสังคมได้ สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยที่คุณจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (นับรวมจากที่ทำงานเก่าได้) ซึ่งเมื่อถูกเลิกจ้าง คุณจะได้รับเงินชดเชย 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 วัน หรือจนกว่าจะได้งานใหม่

2.ตรวจสอบหนังสือรับรองการหักภาษีหรือทวิ 50

          ทวิ 50 ที่มนุษย์เงินเดือนต้องได้รับจากบริษัทเพื่อทำการยื่นภาษีประจำปี คุณควรตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนเงินชดเชย และจำนวนเงินภาษีสุทธิว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่มั่นใจต้องรีบแจ้งฝ่ายบุคคลให้แก้ไขให้ถูกต้อง

3.ตรวจสอบเงินที่ต้องได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(หากมี)

          นอกจากเงินรายได้ที่เป็นเงินเดือนที่ต้องเสียภาษีแล้ว เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ต้องเสียภาษีด้วยเช่นกัน ในกรณีที่บริษัทมีการหักเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อสิ้นสุดสถานภาพการทำงานกับบริษัทคุณก็จะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจะนับเป็นรายได้และถูกนำมาคำนวณภาษีเงินได้ด้วย โดยมากบริษัทจะทำการหักภาษีไว้แล้วก่อนจ่ายเป็นเช็คเงินกองทุนสำรวจเลี้ยงชีพ คุณแค่แสดงรายได้ในส่วนนี้เมื่อทำการยื่นภาษีประจำปีเท่านั้นเอง

4.จำนวนเงินชดเชยที่จะต้องได้รับ

          ส่วนสำคัญที่สุดของเงินชดเชยเลิกจ้างแล้วจะต้องเสียภาษียังไง  ก็คือ ค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้างที่ไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่หากเกินจากนั้น ส่วนที่เกินต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น คุณได้รับเงินชดเชยเลิกจ้างเป็นเงิน 500,000 บาท คุณต้องนำเงิน 200,000 บาทที่เกินมาคำนวณภาษีนั่นเองค่ะ5.เตรียมแผนสอง เพื่อเริ่มต้นใหม่

          เมื่อวางแผนเรื่องเงิดชดเชยจากการเลิกจ้างจนรัดกุมแล้ว ถึงเวลาเตรียมแผนสองว่าจะใช้จ่ายเงินจากการเลิกจ้างอย่างไรหลังว่างงาน เช่น มีระยะเวลาในการหางานใหม่ 2 เดือน โดยใช้เงินชดเชยเป็นเงินสำรอง หรือ นำเงินที่ได้ไปลงทุนทำธุรกิจส่วนตัว หรือนำไปลงในกองทุน หุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์​ เพื่อให้เงินงอกเงย

ที่มา : th.jobsdb.com

 1670
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์