HRMI8 New Feature
- HRMI8 > เพิ่มเงื่อนไข “หักค่าจ้างตามวันที่ไม่ได้ทำงาน”
1.1 หน้าจอบันทึกข้อมูลพนักงาน
1.2 ไฟล์ Template Import
ข้อมูลพนักงาน
1.3 หน้าจอบันทึกพ้นสภาพความเป็นพนักงาน
1.4 หน้าจอบันทึกโอนย้าย/โยกย้ายสาขา
1.5 หน้าจอประมวลผลรายได้
หากพนักงานมีวันที่เริ่มงานหรือวันที่ทำงานวันสุดท้ายอยู่ระหว่างงวด และถูกกำหนดการคำนวณเงินเดือนงวดแรกเป็น “หักค่าจ้างตามวันที่ไม่ได้ทำงาน” จะมีคำนวณ ดังนี้
- กรณีประมวลผล “เงินเดือน” ของ “พนักงานรายเดือน”
เงินเดือน = อัตราค่าจ้าง – (รวมอัตราค่าจ้างต่อวัน ณ วันที่ไม่ได้ทำงาน)
- กรณีประมวลผล “รายได้ – รายหักประจำ” ของ “พนักงานรายเดือนและรายวันวัน”
รายได้ – รายหักประจำ = จำนวนเงิน – (รวมรายได้ประจำต่อวัน ณ วันที่ไม่ได้ทำงาน)
หมายเหตุ :
- รวมอัตราค่าจ้างต่อวัน ณ วันที่ไม่ได้ทำงาน = รวมเงิน [อัตราค่าจ้าง ณ วันที่ไม่ได้ทำงาน/จำนวนวันทำงานต่อเดือนตามข้อกำหนดองค์กร] ของทุก ๆ วันที่ไม่ได้ทำงานในงวดเดือนนั้น ๆ
- รวมรายได้ประจำต่อวัน ณ วันที่ไม่ได้ทำงาน = รวมเงิน [จำนวนเงินรายได้ประจำ ณ วันที่ไม่ได้ทำงาน/จำนวนวันทำงานต่อเดือนตามข้อกำหนดองค์กร] ของทุก ๆ วันที่ไม่ได้ทำงานในงวดเดือนนั้น
ตัวอย่างเพิ่มเติม การคำนวณเงินเดือน ของพนักงานที่กำหนดประเภทพนักงาน “พนักงานรายเดือน”
กรณีพนักงานเข้างานกลางงวด
พนักงานมีวันที่เริ่มทำงาน : วันที่ 03/01/2020 อัตราค่าจ้าง 15,000 บาท
- กรณีกำหนดการคำนวณเงินเดือนงวดแรก เป็น “ตามฐานเงินเดือน” ระบบจะคำนวณเงินเดือน ตามอัตราค่าจ้างที่กำหนด
ดังนั้น เงินเดือน = 15,000.00
- กรณีกำหนดการคำนวณเงินเดือนงวดแรก เป็น “ตามเศษวันที่เหลือ” ระบบจะคำนวณเงินเดือน นับจากวันที่เริ่มงาน ถึงวันที่สิ้นสุดงวด
อัตราค่าจ้างต่อวัน = 15,000.00/30
= 500.00
จำนวนวันที่ทำงาน ระหว่าง วันที่ 03/01/2020 ถึง 31/01/2020 เท่ากับ 29 วัน
ดังนั้น เงินเดือน = 500.00*29
= 14,500.00
- กรณีกำหนดการคำนวณเงินเดือนงวดแรก เป็น “หักค่าจ้างตามวันที่ไม่ได้ทำงาน” ระบบคำนวณเงินเดือน ตามอัตราค่าจ้างที่กำหนด หักอัตราค่าจ้างต่อวัน ตามจำนวนวันที่ไม่ได้ทำงาน
อัตราค่าจ้างต่อวัน = 15,000.00/30
= 500.00
วันที่ไม่ได้มาทำงาน คือ วันที่ 01/01/2020 และ วันที่ 02/01/2020
= 2 วัน
ดั้งนั้น รวมอัตราค่าจ้างต่อวัน ณ วันที่ไม่ได้ทำงาน = 1,000.00
เงินเดือน = 15,000.00 – 1,000.00
= 14,000.00