081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosofthrmi.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Business Flow
Organization
Personnel
Time Attendance
Payroll
Approve Center
Recruitment
Training
Welfare
Loan Management
Job Control
Management Information
Dashboard
Reports
Employee Self Service (ESS)
Multi Company
Human Capital Management (HCM)
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
Manual
System Requirements
New Feature HRMI
E-Newsletter
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
HR Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Award & Standard
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
News
HR Articles
ตัวชี้วัดในงาน HR
3 HR New Normal ที่จะเกิดขึ้นนับจาก COVID-19
3 HR New Normal ที่จะเกิดขึ้นนับจาก COVID-19
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
HR Articles
ตัวชี้วัดในงาน HR
3 HR New Normal ที่จะเกิดขึ้นนับจาก COVID-19
3 HR New Normal ที่จะเกิดขึ้นนับจาก COVID-19
ย้อนกลับ
ไตรมาสแรกของปี 2020 การบริหารงานบุคคลก็เข้าสู่เรื่องท้าทายในรอบหลายปี วิชาชีพบุคคล หรือแม้กระทั่งผู้บริหารระดับโลกยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ COVID-19 ขึ้น (หรืออาจจะคาดว่าเกิดขึ้น แต่ไม่ได้คาดว่าจะมีการระบาดไปทั่วโลกในอัตราที่น่ากลัวขนาดนี้) สิ่งหนึ่งที่กระทบกับการทำงานของวิชาชีพ HR เรื่องหนึ่งคือ ผลกระทบของ Supply Chain ในการทำงานทั้งหมด อาทิ การ Lockdown พื้นที่ ที่กระทบต่อการขนส่ง การสร้าง Physical Distance ที่กระทบต่อการจัด Workplace หรือที่นั่งในการทำงานจนกระทั่งนโยบาย Work From Home ที่เคยเป็นที่ถกเถียงกันมานานว่าสามารถทำได้จริง ๆ หรือไม่? หากทำได้จริง Productivity ในการทำงานจะลดลงหรือไม่? ก็ได้รับการทดสอบแบบไม่มีใครตั้งตัวในช่วงสองถึงสามเดือนที่ผ่านมานี้เอง ทุกสิ่งที่อย่างกลายเป็นผลกระทบกับชีวิตการทำงานของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนกระทั่งเกิดความคุ้นเคยหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า New Normal (วิถีชีวิตใหม่)
ความท้าทายของงาน HR ยุคนี้จึงเป็นการออกแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้ New Normal นั่นเอง
อะไรบ้างที่เปลี่ยนไป?
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 บริษัท CEO และ Co-Founder ของบริษัท Airbnb คุณ Brian Chesky Tech-StartUp ชื่อดังก้องโลก ที่หลายท่านเคยใช้บริการ หรืออาจเคยได้ยินชื่อตามการประชุมสัมมนาในปีที่ผ่านมา ชื่อบริษัทนี้แทบจะปรากฏให้เห็นในทุก ๆ presentation ของวิทยากรบนเวที ไม่ว่าจะต่างชาติ หรือคนไทย ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพนักงานของ Airbnb ทั่วโลก และเปิดเป็นสาธารณะให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปอ่านได้ จดหมายขึ้นต้นว่า
“ถึงเพื่อนพนักงานทุกท่าน สำหรับครั้งนี้ เป็นครั้งที่เจ็ดแล้วที่ผมได้ออกมาพูดคุยกับทุกท่านโดยที่ผมนั่งทำงานจากบ้านของผม ทุกครั้งที่เราคุยกัน ผมจะมีทั้งข่าวดี และข่าวร้าย แต่สำหรับครั้งนี้ ผมเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอเริ่มที่ข่าวร้ายก่อน...”
สิ่งหนึ่งในเนื้อความที่ค่อนข้างชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบในภาคธุรกิจคือ คุณ Brian ได้พูดอย่างชัดเจนว่า 1.) เราไม่มีทางรู้เลยว่าธุรกิจการท่องเที่ยวจะกลับมาเมื่อไหร่ และ 2.) ถ้ามันกลับมา มันจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป
i
นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของผลกระทบที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั่วโลกเท่านั้น เมื่อเหตุการณ์ COVID-19 เริ่มลุกลามขึ้นเรื่อย ๆ ห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องก็ได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน เริ่มตั้งแต่สายการบิน การโรงแรม ที่พักอาศัย การท่องเที่ยว กิจกรรมสัมมนา สถานบันเทิง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เจอวิกฤตด้านการปรับตัวด้วยกันทั้งนั้น
Airbnb มีความจำเป็นที่จะต้อง “ลาจากกัน” กับพนักงานกว่า 1,900 ชีวิต หรือคิดเป็น 25% ของพนักงานทั้งหมด และนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเดียวเท่านั้นจากผลกระทบในระดับโลก
ในประเทศไทย ทุกคนคงจำได้ดีตอนเกิดวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 สถานการณ์ในตอนนั้นคล้ายกับปัจจุบันคือ Supply Chain โดนตัดขาดเนื่องจากการขนส่งเป็นไปอย่างยากลำบาก โรงงานผลิตไม่สามารถส่งมอบวัตถุดิบให้กับโรงงานแปรรูปได้ โรงงานแปรรูปไม่สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังช่องทางขายได้ ยุคนั้น HR เราได้เรียนรู้เรื่องราวจากสายน้ำกันมาเยอะมาก สิ่งหนึ่งคือ “BCP หรือ BCM” (Business Continuity Plan / Management) หรือแผนในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในภาวะวิกฤต ทำให้เราย้ำเตือนกับตัวเองอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน สิ่งแรกที่เราจะต้องสนับสนุนธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้ คือการทำให้พนักงานของเราทุกคนปลอดภัย และอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงาน สิ่งที่ต่างกันสมัยนั้นและปัจจุบัน คงมีเพียงแค่ “สัญญาณ” ของการเกิดเหตุ ครั้งที่แล้วสายน้ำยังปราณีมีโอกาสให้เราได้เตรียมตัว บางบริษัทก็มีการตั้งทีมเฉพาะกิจดูแลพนักงานที่ได้รับผลกระทบ เช่น การออกสวัสดิการกู้เงินฉุกเฉินเพื่อซ่อมแซมบ้าน การออกค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบและต้องมาอาศัยอยู่ตามโรงแรม เป็นต้น ครั้งนี้ สัญญาณเตือนภัยมีเวลาให้เราไม่มากนัก หากทุกท่านจำได้ ณ วันที่ประเทศไทยจำเป็นต้องออก พรก.ฉุกเฉิน และส่งผลกระทบไปกับหลายธุรกิจนั้น ผมเชื่อว่าเพื่อนร่วมวิชาชีพของเราหลายคนจำเป็นจะต้องรีบสร้าง War Room ขึ้นมาเพื่อนำข้อมูลมาหารือร่วมกัน เตรียมรับมือกับการทำงานที่จะเปลี่ยนรูปแบบไปในอีกไม่กี่วัน ในการบริหารงานบุคคลภายใต้สภาวะไม่ปกตินั้น มีหลักการหนึ่งที่สากลให้การยอมรับคือ เรื่องของ Workforce Protection เพราะเราถือว่า ธุรกิจจะดำเนินต่อไม่ได้หากประชาชนคนทำงานขององค์กรนั้น ๆ ไม่พร้อมที่จะปฏิบัติงาน
คำถามที่ผุดขึ้นในใจหลาย ๆ คนในช่วงนี้คือ “แล้วจะทำอย่างไรต่อไปในยุค New Normal”
เราต้องพยายามไม่ยึดติดกับคำว่า New Normal หรือ Next Normal มากจนเกินไป เพราะต้องไม่ลืมว่า ทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นวงจรของมันมักจะอยู่ได้ไม่นาน สังเกตจากคำว่า Remote Work หรือการทำงานจากที่ไหนก็ได้ (ในที่นี้คือทำงานอยู่ที่บ้าน) นั้น บางบริษัทคิดจะทำมานานแล้ว แต่ทำไม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดบางประการ แต่พอมี COVID-19 หลายบริษัทจึงได้มีโอกาสลอง และวัดผลในครั้งนี้ (รายงาน McKinSey ระบุว่า บริษัทบางแห่งสามารถย้ายการทำงานมาเป็น 100% Remote Work ได้เลย
ii
) จากการตกผลึกทางความคิดของตัวผู้เขียนเอง จึงสามารถสรุปเรื่องที่ HR จะต้องเตรียมรับมือได้ดังต่อไปนี้
1.) ช่องว่างระหว่างคนเก่งจะมีมากขึ้น
องค์กรที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูหลังยุค COVID-19 จะต้องเตรียมตัวรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างแน่นอน สิ่งหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การบริโภคสินค้าผ่านการทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น การสั่งซื้ออาหารจากแอพพลิเคชั่นสั่งอาหาร การสั่งสินค้าออนไลน์ การใช้บริการส่งของ การใช้บริการ Video Conference Call เป็นต้น ยอดขายของสินค้าบนโลกออนไลน์นั้นพุ่งทะยานขึ้นสูงมากถึง 79%
iii
ส่งผลในวงการทั้งวงการ e-Commerce / Marketplace และ Social Commerce เพราะหลายคนผันตัวมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำงานมากขึ้น จากเดิมที่บางธุรกิจอาจจะมีความพร้อมไม่เท่ากันในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประกอบการขาย แต่ด้วย COVID-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจต้องพยายามลดขั้นตอนในการปรับตัวเองด้วยความเร็วที่เรียกได้ว่าคิดกันเป็นวินาทีทีเดียว เช่นกันกับภาคของการบริหารงานบุคคล ลองจินตนาการในโลกที่เปลี่ยนไปเพราะพฤติกรรมของทุกคนเปลี่ยนไปหมดแล้ว อะไรที่เคยยากกลายเป็นง่ายมากขึ้น อะไรที่เคยสะดวกสบาย ตอนนี้มีที่สะดวกสบายกว่า การมี Talent Workforce ที่สามารถทำงานที่เกิดใหม่จากพฤติกรรมของมนุษย์นั้น ย่อมมีความจำเป็นต่อธุรกิจ ในขณะที่องค์กรยังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง บางแห่งยังไม่ได้เริ่มนิยามคำว่า Talent บางแห่งอาจจะนิยามแล้วแต่อยู่ในระหว่างการพัฒนา บางแห่งอาจจะยังอยู่ในระหว่างการจัดกำลังพลใหม่ ช่วงเวลานี้เองที่เราจะได้เห็นช่องว่างของโครงสร้างกำลังพลที่เรามีอยู่ คิด และทบทวน ก่อนที่เตรียมการทำ Talent Management ต่อไป
2.) ความสามารถในการ Re-skill งานที่มีอยู่ไปสู่งานในอนาคต
เช่นกันกับ Talent งานในยุคก่อน COVID-19 บางงานกำลังหายไป งานประเภทใหม่กำลังจะเกิดขึ้นมา หลายบริษัทยังไม่เคยต้องย่างกรายเข้าสู่พรมแดนของตลาดการค้าออนไลน์ ยังไม่ทันได้เตรียมคิดกลยุทธ์รับมือกับการสื่อสารการตลาดแบบใหม่ การกำหนดแผนการสื่อสารกับลูกค้า ก็มีเหตุจำเป็นที่จะต้องเริ่มพัฒนาทักษะของคนในองค์กรให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ช่วงเวลาดังกล่าวบริษัทหรือองค์กรเอง ก็ไม่ได้มีเงินเหลือมากพอที่จะทุ่มทั้งหมดลงไปในโครงการใดโครงการเดียว เพราะวัตถุประสงค์ของหลาย ๆ แห่งตอนนี้คือ อยู่รอด และเติบโตต่อให้ได้ ดังนั้น การ Re-skill หรือการเรียนรู้ทักษะใหม่ โดยการใช้กำลังพลเดิมที่มีอยู่ในองค์กรจึงเป็นทางเลือกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สมัยก่อนการทำ Workforce Planning เราอาจจะมองไปถึงการรับคนเข้าทำงานใหม่ แต่ในปัจจุบัน คงจะต้องนำเอากำลังพลที่มีอยู่มาพิจารณาเรื่องการปรับทักษะให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถนำมาพัฒนาได้ในทันที HR จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กรถึงการกำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของการปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อสร้าง Lean Organization ในช่วงเวลาต่อจากนี้
3.) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Experiment Culture
โลกในยุค Post- COVID 19 จะเป็นความท้าทายของทุกธุรกิจ เราเห็นการปิดกิจการ การเลิกจ้างในวงการ IT ที่สมัยก่อนเคยมีอัตราการจ้างงานที่สูงมาก รวมถึงค่าจ้างที่แข่งขันกับตลาดได้ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่องค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมคือการพัฒนา Mindset หรือทัศนคติผ่านการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่รวดเร็วพอที่จะปรับตามสภาวะภายนอกได้ การสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ เช่น Test and Learn หรือ Rapid PDCA ซึ่งยอมให้พนักงานได้มีโอกาสลองผิดลองถูกได้โดยไม่ถูกทำโทษ หรือนำเอาผลการทดลองไปประเมินผลงาน จะสร้างแนวความคิดใหม่ขององค์กรที่สร้างภูมิคุ้มกันของโลกที่ผันผวนไม่รู้จบนี้ได้ การทำงานแบบที่เรียกว่า Agile Enterprise จะเข้ามาผสมผสานกับการทำงานแบบดั้งเดิมที่มีสายบังคับบัญชา (ผู้เขียนเชื่อว่า ทั้งสองระบบสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้แบบ win-win) และเพิ่มความคล่องตัวให้กับองค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่ Human Centric Product and Service คือการพัฒนาสินค้าและบริการบนฐานของพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการต้องเรียนรู้และทดลองด้วยความเร็ว
ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรในอีก 1 ปีข้างหน้า สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับงานของ HR คือการตระหนักแต่ไม่ตะหนก และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจโลกและธุรกิจ สภาวะฉุกเฉินที่มีอยู่จะค่อย ๆ ผ่อนคลายกลายเป็นภาวะปกติ และภาวะปกติจะนำมาสู่พฤติกรรมใหม่ของระบบรอบตัวเรา ดังนั้นวันนี้ HR จะต้องเล่นบทคนขี้สงสัยให้เยอะที่สุด ตั้งคำถามที่ถูกต้องและเหมาะสม จะนำมาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องและเหมาะสมเอง
ที่มา :
www.pmat.or.th
1481
ผู้เข้าชม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com