ระบบประเมินผลพนักงานที่มีเป้าหมายชัดเจน เช่น พนักงานขายที่ต้องทำยอดให้ได้ตามเป้านั้นไม่ยากเท่ากับการประเมินผลพนักงานในฝ่ายสนับสนุน ที่ลักษณะงานไม่ได้วัดกันด้วยจำนวนตัวเลข บริษัทจึงต้องหาวิธีวัดผลในมิติต่าง ๆ มาประมวลเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถประเมินผลงานได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด อันจะเป็นประโยชน์แก่ตัวพนักงานเองและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรด้วย หากคุณกำลังมองหาวิธีประเมินผลพนักงาน 10 วิธีต่อไปนี้ อาจเป็นไอเดียให้แก่คุณได้ 1. วัดตามเป้าหมายของการปฏิบัติงาน เป็นวิธีการวัดผลที่นิยมใช้ทั่วไป โดยกำหนดเป้าหมายเป็นระยะเวลา เช่น ทุก 3 เดือน ทุก 6 เดือนจะมีการประเมินผลงานครั้งหนึ่งเพื่อดูว่างานนั้นสำเร็จตามเป้าหมายคือเข้าใกล้เป้าหมายเพียงใดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ 2. ให้คะแนนตาม Job Description เป็นการวัดผลในเชิงพฤติกรรมของพนักงานจาก Job Description ที่ได้กำหนดบทบาทของพนักงานในแต่ละตำแหน่งไว้แล้ว เช่น การให้ความร่วมมือ ความเชื่อถือได้ การตัดสินใจ โดยการให้คะแนนจาก 1 – 10 3. วัดจากประสิทธิภาพในการทำงาน หากพบว่าพนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง บางบริษัทจะมีการเช็คว่าพนักงานมีความจดจ่อกับงานของตนมากเพียงใด โดยดูจากเวลาที่เขาใช้ไปกับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ การเช็คอีเมล การโทรศัพท์เรื่องส่วนตัว เป็นต้น 4. ให้พนักงานให้คะแนนความพึงพอใจในงานของตนเอง พนักงานที่มีความสุขมักจะสร้างสรรค์ผลงานได้ดี และการมีความพึงพอใจในงานของตนจะเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งให้ทราบว่าพนักงานมีแนวโน้มที่จะลาออกในอนาคตอันใกล้นี้หรือไม่ 5. วัดจากผลงานของทีม การวัดจากการทำงานเป็นทีม ผลงานโดยรวมของทีม และผลงานของแต่ละบุคคลในทีมประกอบกันจะช่วยพิจารณาได้ว่า คนในทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ดีหรือไม่ หรือจำเป็นต้องทำการจัดสรรทีมใหม่เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. วัดจากความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างานอาจขอให้เพื่อนร่วมงานที่ทำงานแบบเดียวกันให้คะแนนกันเอง เพราะพนักงานด้วยกันจะรู้ดีว่างานในหน้าที่ดังกล่าวต้องการอะไรบ้าง และเพื่อนร่วมงานของเขาทำได้ดีเพียงใด ถือเป็นวิธีการประเมินความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอีกทางหนึ่ง 7. วัดจากความคุ้มค่า พนักงานสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างคุ้มค่าหรือไม่ 8. วัดจากการขาด ลา มาสาย พนักงานขาด ลา มาสายบ่อยจนมีผลกระทบต่องานหรือไม่ ทั้งนี้ หัวหน้างานต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นในการขาด ลา มาสาย ของพนักงานประกอบด้วย ไม่ควรดูจากจำนวนวันแต่เพียงอย่างเดียว 9. วัดจากความคิดสร้างสรรค์ ในบางตำแหน่งงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น งานกราฟิกดีไซน์ งานการตลาด งานครีเอทีฟ พนักงานใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้ดีเพียงใด หรือในตำแหน่งงานอื่น ๆ หัวหน้างานสังเกตเห็นพนักงานคนใดใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานหรือไม่ 10. วัดจากความพึงพอใจของลูกค้า สำหรับตำแหน่งงานที่ต้องติดต่อกับลูกค้า อาจให้ลูกค้าประเมินการให้บริการของพนักงาน และนำมารวบรวมคะแนน ตลอดจนให้ลูกค้ากรอกแบบฟอร์มแสดงความคิดเห็น เพื่อนำมาใช้ในการประเมินผลงานของพนักงาน แม้คุณอาจจะใช้ทั้ง 10 วิธีข้างต้นในการประเมินผลงานของพนักงานแล้วก็ตาม อย่าลืมว่าพนักงานที่ดีไม่ใช่แค่คนที่ทำงานเก่ง แต่ยังต้องพิจารณาถึงคุณธรรมและจริยธรรมในตัวบุคคลด้วยจึงจะได้คนดีที่จะนำพาบริษัทให้เจริญก้าวหน้าต่อไป หากคุณกำลังมองหาโปรแกรมบริหารงานบุคคล ที่ช่วยในเรื่องของการประเมินผลงานพนักงาน เราขอแนะนำโปรแกรมบริหารงานบุคคล HRMI ที่มีระบบอย่าง Time Attendance ระบบบริหารเวลา สามารถดูประวัติการทำงานต่างๆ ประวัติการลงเวลาเข้า-ออกการทำงานของพนักงาน รวมถึงข้อมูลขาด ลา มา สาย โดยนำข้อมูลเหล่านี้มา วิเคราะห์ประมวลผล ประเมินผลงานของพนักงานในแต่ละปีได้ ด้วยระบบ Dashboard ระบบวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ให้อยู่ในรูปแบบของรายงาน หรือ กราฟต่างๆ นอกจากนั้น ผู้บริหารยังสามารถนำไปใช้พิจารณาในการจัดทำงบประมาณ หรือวางแผนต่างๆ ได้ซึ่งโปรแกรมสามารถจัดทำงบประมาณ ค่าใช้จายพนักงานประจำปีได้, ติดตามรายงานการใช้สวัสดิการมากที่สุด และ Cost ที่เกิดขึ้น, ออกรายงานวิเคราะห์จำนวนเงินที่พนักงานขอเบิก หรือ บริษัทจ่ายให้พนักงานไปเป็นรายปี, แสดงรายงานอัตรากำลังคนย้ายเข้า - ย้ายออก จากหน่วยงาน หรือ เข้างาน - ลาออก, เรียกดูรายงานวิเคราะห์ Cost ของการปรับเงินเดือนในแต่ละแผนก หรือ หน่วยงานในแต่ละปี เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายกำลังคนในปีต่อไปได้อีกด้วย
สามารถอ่านรายละเอียดโปรแกรมบริหารงานบุคคล HRMI เพิ่มเติมได้ที่ www.prosofthrmi.com บทความโดย : th.jobsdb.com ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com |