ประชาคมอาเซียนกับการจ้างงาน

ประชาคมอาเซียนกับการจ้างงาน



การปรากฏขึ้นของประชาคมอาเซียนทำให้คนไทยทั้งประเทศกลายเป็นคนในประชาคมอาเซียน นับว่ามีความท้าทายมากสำหรับเรื่องการจ้างงานในตลาดแรงงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เกือบ 10 เท่าหลายคนให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์ด้าน แรงงานที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต การเตรียมตัวเพื่อรองรับและรู้เท่าทันปรากฏการณ์ดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้านแรงงาน ตัวแรงงานและสถานประกอบการ สามารถตั้งรับและรุกกับสถานการณ์นั้นได้ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือทาง เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย มีประชากรประมาณ 590 ล้านคน มากพอๆกับ กลุ่ม The European Union (EU) แต่มีสมาชิกประเทศน้อยกว่ามาก สามารถสร้างการผลิตได้จำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง (economy of scale) ในอุตสาหกรรมการผลิตได้มากเช่นเดียวกับ EU มีพื้นที่ประมาณ 4,435,570 กิโลเมตร มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ ถือว่าพอฟัดพอเหวี่ยงกันระหว่างกลุ่มเศรษฐกิจสองกลุ่มนี้

 กำเนิดประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยมีประเทศผู้ร่วมก่อกำเนิด 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ต่อมาถูกล้มเลิกไปเนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2510 จึงได้ก่อตั้งขึ้นมาใหม่มีประเทศที่ให้กำเนิด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเชีย มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โดยได้ร่วมลงนามกันใน ปฎิญญากรุงเทพ มีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 10 ประเทศในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2553 กลุ่มประเทศ ASEAN ได้กลายมาเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ที่สมบูรณ์โดยมีอัตราภาษี 0 เปอร์เซ็นต์ มีแหล่งการค้าที่สำคัญๆ 4 แห่งได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแหล่งการค้าทั้งสี่แห่ง ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับว่าเป็นแหล่งการค้าและตลาดแรงงานที่สำคัญของประเทศไทย การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และการเมืองสำหรับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากที่ได้รับจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีซึ่งทำให้มี ตลาดการค้าที่เพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากขนาดตลาดซึ่งแสดงจากจำนวนประชากร รายได้ มูลค่าเพิ่มของสินค้า การจ้างงาน และรายได้ต่อหัว ซึ่ง การปรับลดการกีดกันทางการค้าส่งผลทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงขึ้น อย่างมาก และกำลังก้าวสู่ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 โปรดติดตามต่อไป



บทความโดย :  ดร. แสงชัย ชัยจงเจริญสุข 
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 3392
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์