การรับฟังและการให้ข้อชี้แนะลูกน้อง
หัวหน้าบางคนเลือกใช้ภาษาแรง ๆ เช่น “ ไม่อยากทำงานที่นี่ ก็ไปหาที่ใหม่ที่ชอบทำเลยไป” หรือไม่ก็ “เธอนี่ มีอะไรก็ไม่รู้จักพูดจักบอก จะเอายังไงก็ว่ามา นี่ ไม่เอาอะไรซักอย่าง แบบนี้งานจะดีขึ้นได้อย่างไร” คำพูดเชิงหงุดหงิดอย่างที่ว่านี้ เราก็คงได้ยินกันบ่อย ๆ ใช่ไหมครับ ก็อย่างว่า คนเรานั้น มีหลายรูปแบบ หลายลักษณะ บางทีคิดว่าเลือกมาประเภทที่น่าจะทำงาน ด้วยกันได้ดีแล้ว ก็มักไม่พ้นที่จะเจอกับพฤติกรรมที่ทั้งโอเคและไม่โอเคจนได้ อาจเข้าสุภาษิตว่า อย่าไปหาใครที่ต้องดีพร้อมอย่างที่เราคิดเลย หัวเสียตายเปล่า เราเองยังไม่สามารถทำถูกใจใคร ไปเสียทุกอย่างเลย จริงไหมครับ ถึงจะไม่อยากพูดคุยกันในเรื่องแบบนี้ แต่เมื่อมีบทบาทเป็นหัวหน้าแล้ว ก็ย่อมมีหน้าที่ที่ต้องพูดคุย เพื่อปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องสามารถ “รับฟัง” ข้อคิดเห็น จากลูกน้องได้อย่างเหมาะสมด้วย ลูกน้องจึงจะกล้ามาแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์
ประการที่สอง การรับฟังความคิดเห็นนั้น คุณเปิดรับฟังอย่างจริงจังหรือไม่? หรือฟังไป อย่างงั้นแหละ คุณฟังไปตอบโต้ไปหรือไม่? ถ้าคุณยังเป็นอย่างนั้น คุณก็รู้ว่า ใครจะอยากแสดงความเห็นอะไรออกมา คุณลองฟังอย่างไม่ขัดจังหวะดูซิครับ หรือถ้าจะมีบ้าง ก็เป็นเพียงแต่กระตุ้น ส่งเสริมให้เขาพูดขยายความออกมาให้มากขึ้น ชัดเจนขึ้นเสียมากกว่า อย่างนี้ เชื่อว่าคุณจะได้อะไรจากการพูดคุยเพิ่มขึ้นมาก ประการที่สาม เวลารับฟัง คุณได้ระมัดระวังเรื่อง “ภาษากาย” ดีแล้วหรือไม่? ถ้าเราบอกว่า เราพร้อมรับฟังลูกน้อง แต่ภาษากายของเรากลับเป็นอย่างอื่น เช่น ไม่ค่อยให้ความสนใจ ฟังไปทำงานอื่นไป หรือมีหน้านิ่วคิ้วขมวดแบบไม่เข้าใจหรือไม่เห็นด้วยอยู่เป็นระยะ ๆ แบบนี้ลูกน้องก็ไม่อยากพูดคุยอะไรกับเราเหมือนกันนะครับ
บทความโดย : ไพศาล เตมีย์ ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com |