สรรพากรเลื่อนยื่นแบบ-จ่ายภาษี ช่วยผู้ประกอบกาสู้โควิด-19

สรรพากรเลื่อนยื่นแบบ-จ่ายภาษี ช่วยผู้ประกอบกาสู้โควิด-19

สรรพากรเลื่อนยื่นแบบ-จ่ายภาษี ช่วยผู้ประกอบกาสู้โควิด-19 



กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรได้เพิ่มเติมผู้ได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรให้ครอบคลุมแก่ผู้ประกอบการเป็นการทั่วไป จากเดิมที่ให้เฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องปิดสถานประกอบตามคำสั่งของทางราชการ

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรออกไปให้ครอบคลุมผู้ประกอบการเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวจากประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เพื่อช่วยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVId-19) ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ ผู้บริหารหรือพนักงานที่เกี่ยวข้องการยื่นแบบภาษีต้องถูกกักตัวจาก COVID-19 จนไม่สามารถทำงานได้หรือสำนักงานบัญชีที่ไม่สามารถเข้าไปในสถานประกอบการเพื่อเตรียมทำบัญชีและภาษี หรือสถานประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกันกับสถานประกอบการที่ถูกปิดกิจการ เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่รณรงค์ให้ประชาชนอยู่บ้าน และให้ผู้ประกอบการพิจารณาให้ลูกจ้างทำงานที่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดจาก COVID-19

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีอากรในครั้งนี้ มีรายละเอียดดังนี้

1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (แบบ ภ.ง.ด. 1 แบบ ภ.ง.ด. 2 แบบ ภ.ง.ด. 3 แบบ ภ.ง.ด. 53 และแบบ ภ.ง.ด. 54) ของเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน 2563 ที่ต้องยื่นและชำระภาษีภายในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2563 ตามลำดับ ขยายออกไปถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าและบริการภายในประเทศ (แบบ ภ.พ. 30) ของเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน 2563 ที่ต้องยื่นและชำระภาษีภายในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2563 ตามลำดับ ขยายออกไปถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2563
2.2 ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ (แบบ ภ.พ. 36) ของเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน 2563 ที่ต้องยื่นและชำระภาษีภายในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2563 ตามลำดับ ขยายออกไปถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (แบบ ภ.ธ. 40) ของเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน 2563 ที่ต้องยื่นและ ชำระภาษีภายในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2563 ตามลำดับ ขยายออกไปถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 แต่ไม่รวมถึงกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรที่ชำระในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

4. อากรแสตมป์ (แบบ อ.ส. 4 แบบ อ.ส. 4ก และแบบ อ.ส. 4ข) ที่ต้องยื่นชำระอากรแสตมป์ภายในวันที่ 1 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2563 ขยายออกไปถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

นอกจากนี้ ปัจจุบันกรมสรรพากรมีระบบที่สนับสนุนการยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีอากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและลดภาระจัดเก็บเอกสาร รวมทั้ง ลดการเดินทางไปชำระภาษีอากรในสำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรพื้นที่สาขา

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวสรุปว่า กระทรวงการคลังหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรการการขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรให้แก่ผู้ประกอบการเป็นการทั่วไปในครั้งนี้ รวมทั้งกรณีที่กรมสรรพากรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการยื่นและการชำระภาษีอากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 ให้สามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้ และขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป



แหล่งที่มา : www.prachachat.net/finance/news-444835


ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน

 852
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์